ประเทศที่ไม่รับรองรัฐปาเลสไตน์โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ทำเช่นนั้น เพราะไม่มีการตกลงเจรจากับอิสราเอล
ในประกาศร่วมกันเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา มีหลายชาติ เช่น สเปน นอร์เวย์ และไอร์แลนด์ ได้เปิดเผยว่ามีแผนที่จะรับรองปาเลสไตน์ในฐานะ "รัฐ" ในวันที่ 28 พ.ค. นี้
ขณะที่ผู้นำปาเลสไตน์ได้แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจนี้ โดยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization: PLO) ได้เรียกสิ่งนี้ว่า "ช่วงเวลาประวัติศาสตร์"
ส่วนประเทศที่สนับสนุนการสร้างรัฐปาเลสไตน์เชื่อว่า นี่จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์
อย่างไรก็ตาม อิสราเอลแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง โดยกล่าวว่าจะเรียกทูตของสามประเทศนี้มาเพื่อชมวิดีโอการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2023
"ประวัติศาสตร์จะจดจำว่า สเปน นอร์เวย์ และไอร์แลนด์ตัดสินใจมอบเหรียญทองให้กับนักฆ่าและผู้ข่มขืนอย่างฮามาส" นายอิสราเอล แคทซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอล กล่าว
"แม้ว่าสหรัฐฯ ดีแต่พูดว่า มีความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ แต่สหรัฐฯ ยืนยันที่จะให้มีการเจรจาโดยตรงระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ซึ่งหมายความว่า ให้สิทธิยับยั้งแก่อิสราเอลต่อความปรารถนาของปาเลสไตน์ในการกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองโดยปริยาย" ฟาวาซ เกอร์เจส ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองตะวันออกกลางที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
การเจรจาสันติภาพเริ่มขึ้นในปี 1990 และต่อมาได้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างการเป็นระบบ 2 รัฐ ซึ่งชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์สามารถอยู่เคียงข้างกัน ในสองประเทศที่แยกจากกัน
อย่างไรก็ตาม กระบวนการสันติภาพเริ่มเสื่อมถอยลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2000 แม้กระทั่งก่อนปี 2014 เมื่อการเจรจาระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ในกรุงวอชิงตันล้มเหลว
ปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดยังคงไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงเรื่องประเด็นด้านพรมแดนและลักษณะของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต สถานะของนครเยรูซาเลม รวมถึงชะตากรรมของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามระหว่างปี 1948-1949 หลังจากการประกาศการก่อตั้งรัฐอิสราเอล
ที่ผ่านมา อิสราเอลคัดค้านอย่างแข็งขันต่อความพยายามของปาเลสไตน์ที่จะเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานโดยอ้างคำกล่าวของ กิลาด เออร์แดน ทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติ ที่พูดคุยเรื่องนี้เมื่อต้นเดือน เม.ย. ว่า เป็น "ชัยชนะสำหรับการก่อการร้ายที่ตั้งเป้าหมายในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" และเสริมว่าหากความพยายามนี้สำเร็จจะถือเป็นการให้รางวัลแก่การก่อการร้ายหลังจากการโจมตีของฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. เมื่อปีที่แล้ว
ประเทศที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรต่ออิสราเอลจะทราบว่า การยอมรับรัฐปาเลสไตน์จะทำให้อิสราเอลไม่พอใจ
บางประเทศ รวมถึงผู้สนับสนุนอิสราเอล แย้งว่า ปาเลสไตน์ไม่ตรงตามเกณฑ์สำคัญสำหรับการเป็นรัฐที่กำหนดไว้ในอนุสัญญากรุงมอนเตวิเดโอ ปี 1933 ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากรซึ่งมีถิ่นที่อยู่อย่างถาวร ดินแดน รัฐบาล และความสามารถในการเข้าสู่ความสัมพันธ์กับรัฐอื่น
แต่ฝ่ายอื่น ๆ ยอมรับคำจำกัดความที่ยืดหยุ่นกว่านั้น โดยเน้นการยอมรับจากรัฐอื่น ๆ มากกว่า
บทความที่น่าสนใจ
- ช็อคโลก! Google ลบบชื่อ-ที่ตั้งปาเลสไตน์ออกจาก Google Maps
- อิสราเอล VS ฮามาส : อัพเดตสถานการณ์ล่าสุด
- อิหร่าน-ปาเลสไตน์ไม่คาดหวัง รัฐบาลยิวชุดใหม่
- อิสราเอลคุมตัว “รัฐมนตรีปาเลสไตน์” ในเยรูซาเลม หลังพบปธน.ชิลีที่อัลอักซอ
- นักสิทธิฯ เรียกร้องศาลอิสราเอล ให้ตั้งศูนย์การทดสอบโควิด-19 ภายหลังกำแพง
- สหรัฐฯสัญญาจะพัฒนาสัมพันธ์กับปาเลสไตน์ พร้อมช่วยกาซาสร้างเมือง
- สหรัฐฯ ออกโรงปกป้องอิสราเอล สั่งเรือพิฆาตยิงสกัดโดรน-มิสไซล์จากเยเมน
- สำนักจุฬาฯ ชวนพี่น้องมุสลิม ละหมาดฮายัตขอพรยุติสงครามอิสราเอล
- อิสราเอลถล่ม ฉนวนกาซา ตายสะสม 130 กว่าศพ
- 'เศรษฐา' จ่อหารือซาอุฯ เปิดน่านฟ้าบินผ่าน ช่วยคนไทยในอิสราเอล