จากกรณีกระแสความร้อนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับ ฌอน บูรณะหิรัญ ไลฟ์โค้ชชื่อดัง ถูกร้องเรียนกรณีเปิดรับบริจาคช่วยแก้ปัญหาไฟป่า จเชียงใหม่ ว่าเงินบริจาคไปไม่ถึงทีมอาสา
มุสลิมขอบริจาค-เรี่ยไรเงิน ระวัง(คุก)
เปิดหลักเกณฑ์ ขอรับบริจาคเงิน ไม่ให้ผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2563 จากกรณีกระแสความร้อนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับ ฌอน บูรณะหิรัญ ไลฟ์โค้ชชื่อดัง ถูกร้องเรียนกรณีเปิดรับบริจาคช่วยแก้ปัญหาไฟป่า จ.เชียงใหม่ ว่าเงินบริจาคไปไม่ถึงทีมอาสา และถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการขออนุญาตรับบริจาค รวมไปถึงนำเงินบริจาคไปยื่นแบบรายได้ประจำปีแล้ว และยังไม่ชัดเจนว่าจะยกเว้นภาษีได้ หากนำเงินบริจาคไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ระบุว่า..
"การเรี่ยไร" หมายความรวมตลอดถึงการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ซึ่งมีการแสดงโดยตรงหรือโดยปริยาย ว่ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นด้วย
ส่วนการขออนุญาตทำการเรี่ยไรในที่สาธารณะ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อโทรทัศน์ จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และจะต้องระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน กำหนดวิธีการที่จะทำการเรี่ยไร จำนวนเงินที่ต้องการเรี่ยไร และสถานที่ทำการเรี่ยไร
รวมทั้งผู้ที่ได้รับอนุญาตจะไม่สามารถเดินไปขอเรี่ยไรตามหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ นอกเหนือจากที่ขออนุญาตไว้ ตลอดจนกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการเรี่ยไรและระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ผู้ที่ขออนุญาตจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ ไม่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ และไม่เคยต้องโทษฐาน ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ รับของโจร หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายลักษณะ และพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบ 5 ปี ไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติหรือหลักฐานไม่น่าไว้ใจ
ผู้ได้รับอนุญาตให้ทําการเรี่ยไรต้องมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ในขณะทําการเรี่ยไร และต้องให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้ประสงค์จะเข้าส่วนในการเรี่ยไรตรวจดูเมื่อเจ้าหน้าที่หรือบุคคลนั้นเรียกร้อง และห้ามมิให้ใช้ถ้อยคำหรือวิธีการใดๆ ซึ่งเป็นการบังคับขู่เข็ญผู้ที่ถูกเรี่ยไรโดยตรงหรือโดยปริยาย หรือซึ่งจะทำให้ผู้ถูกเรี่ยไรเกิดความหวาดหวั่นหรือเกรงกลัว หากฝ่าฝืน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ขณะเดียวกัน การขอรับบริจาคนั้น หากมีการหลอกลวงหรือมีเจตนาในการฉ้อโกง หรือฉ้อโกงประชาชน ก็จะมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือมาตรา 343 แล้วแต่กรณี รวมไปถึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และอาจจะถูกตรวจสอบทรัพย์สิน เนื่องจากความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนนั้น เป็นความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อีกด้วย
ที่มา: news.thaipbs.or.th