รัฐบาลเงาเมียนมาเรียกร้องชาวโรฮีนจา ร่วมโค่นล้มเผด็จการทหารrพร้อมให้คำมั่นจะให้สัญชาติและรับกลับประเทศ
เอายังไงกันดี! อ้อนโรฮิงจาร่วมสู้เผด็จการ ให้สัญชาติพร้อมรับกลับประเทศ
รัฐบาลเงาเมียนมาเรียกร้องชาวโรฮีนจา ร่วมโค่นล้มเผด็จการทหารrพร้อมให้คำมั่นจะให้สัญชาติและรับกลับประเทศ
กลุ่มอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติของเมียนมาที่พ้นจากตำแหน่งหลังการรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นำโดยสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางอองซาน ซูจี ร่วมกันกับตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (เอ็นยูจี) ขึ้น แต่รัฐบาลทหารขึ้นบัญชีสมาชิกรัฐบาลเงาชุดนี้ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ผู้ที่ติดต่อสัมพันธ์กับพวกเขาจึงอาจถูกลงโทษต่อกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายไปด้วย
รายงานเอเอฟพี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ระบุว่า กลุ่มนี้ออกแถลงการณ์ในวันเดียวกันนี้ เรียกร้องให้ชาวโรฮีนจาเข้าร่วมกับการต่อสู้ของพวกเขา "เราขอเชิญชาวโรฮีนจามาจับมือกับเราและคนอื่นๆ เพื่อเข้าร่วมในการปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิต่อต้านเผด็จการทหาร" คำแถลงกล่าว
ที่ผ่านมารัฐบาลของนางซูจีหลีกเลี่ยงการใช้คำ "โรฮีนจา" มาโดยตลอด เนื่องจากเป็นคำที่มีความอ่อนไหวสำหรับเมียนมาที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ โดยมักเรียกชาติพันธุ์นี้ว่า "ชาวมุสลิมที่อาศัยในรัฐยะไข่"
สำหรับเมียนมา ชาวโรฮีนจามักถูกมองว่าเป็นพวกที่รุกล้ำข้ามแดนเข้ามาจากบังกลาเทศ และถูกปฏิเสธความเป็นพลเมือง สิทธิ และการเข้าถึงบริการของรัฐมานานหลายสิบปี ภายใต้สภาพการณ์ที่แอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนลเรียกว่า คล้ายการแบ่งแยกสีผิว
เอ็นยูจียังให้คำมั่นสัญญาว่า จะยุติกฎหมายให้สัญชาติปี 2525 ที่เลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจา ให้สัญญาว่าทุกคนที่เกิดในเมียนมาหรือเกิดกับชาวเมียนมาจะได้รับสัญชาติ นอกจากนี้ พวกเขายังให้คำมั่นว่าจะรับชาวโรฮีนจาทุกคนในค่ายลี้ภัยที่บังกลาเทศกลับเมียนมา "ทันทีที่การส่งกลับประเทศสามารถทำได้โดยสมัครใจ ปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี"
การปราบปรามที่รัฐยะไข่เมื่อปี 2560 ผลักดันให้ชาวโรฮีนจามากกว่า 740,000 คนหนีข้ามแดนเข้าบังกลาเทศ กองทัพเมียนมาอ้างว่าการปราบปรามครั้งนั้นชอบด้วยเหตุผล เพื่อกำจัดผู้ก่อความไม่สงบชาวโรฮีนจาที่โจมตีที่มั่นของตำรวจและสังหารเจ้าหน้าที่หลายนาย ทั้งยังปฏิเสธคำกล่าวหาทั้งหมดเรื่องการกระทำทารุณโหดร้ายกับชาวโรฮีนจา ที่รายงานขององค์การสหประชาชาติเรียกว่า เทียบได้กับการล้างเผ่าพันธุ์
นางซูจีเคยปกป้องการกระทำของกองทัพ และถึงขั้นเดินทางไปขึ้นศาลที่กรุงเฮก เพื่อว่าความแก้ต่างข้อกล่าวหาล้างเผ่าพันธุ์ด้วยตนเอง
ตอนนี้มีชาวโรฮีนจาอยู่ในเมียนมามากกว่า 600,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐยะไข่ แต่พวกเขาไม่ได้สิทธิพลเมืองและถูกจำกัดให้อยู่แต่ภายในค่ายหรือในหมู่บ้าน
ที่มา: www.nationtv.tv
- เปิดประวัติ มินอ่องหล่าย ผู้นำรัฐประหารเมียนมา
- ยูเอ็นเอสซี เรียกร้องปล่อย 'อองซาน ซูจี'
- 'ซูจี'เขียนแถลงการณ์ล่วงหน้า ปลุกคนพม่าฮึดต้านรัฐประหาร
- สหรัฐฯเรียกร้องให้ปล่อยตัว 'ซูจี' เตือนอาจมีตอบโต้
- ทัพพม่าจับ อองซาน ซูจี ส่อรัฐประหาร
- 'ซูจี' โดนฟ้องแล้วในอาร์เจนตินา กวาดล้างมุสลิมโรฮิงญา
- 'ซูจี'กับวิกฤตมุสลิมโรฮิงญา