หลังจากที่ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สสพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดข้อมูล 2 สสภูมิใจไทย
หลังจากที่ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สสพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดข้อมูล 2 สสภูมิใจไทย ไม่อยู่ในห้องประชุม แต่ปรากฏว่าร่วมลงมติ ร่าง พรบงบประมาณ วาระ 2-3 ด้วย
ขณะที่ทีมข่าวช่อง 7 สี นำภาพ สสพลังประชารัฐ เสียบบัตรลงคะแนนมากกว่า 1 ใบมานำเสนอ
ทำให้มีการย้อนไปถึง ปี 2556 กรณีนายนริศร ทองธิราช อดีต สสสกลนคร พรรคเพื่อไทย ที่ถูกข้อกล่าวหากดบัตรลงคะแนนแทน สสคนอื่น 4-5 คน
ระหว่างการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา สว (10 และ 11 กย 2556) และ ร่าง พรบให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (20 กย2556) โดยผู้ที่บันทึกคลิปไว้คือ นสรังสิมา รอดรัศมี สสสมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์
ต่อมามีการร้องเรื่องการเสียบบัตรแทนไปยังศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับเรื่องความขัดกันของข้อกฎหมาย
ในคดี ร่าง พรบกู้เงินฯ นายนริศร ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่า บัตรของตนเองมักมีปัญหาจึงต้องพกบัตรสำรองไว้ด้วยจึงมีบัตรหลายใบ และปกติตนชอบเสียบบัตรลงคะแนนหลายครั้่งในการแสดงตนและลงคะแนน ส่วนคลิปที่ปรากฏลงคะแนนแทนอาจมีการตัดต่อมาประกอบข้ออ้างเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ตรวจสอบแล้วเรื่องบัตรสำรองจะไม่มีรูปเจ้าของบัตร แต่ภาพในคลิปมีรูปอยู่ทุกบัตร ประกอบกับข้ออ้างของนายนริศร เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล ผิดวิสัยของผู้ที่มีฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และขัดต่อพฤติกรรมโดยปกติของวิญญูชน ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้
ส่วนการกระทำมีผลให้ ร่าง พรบกู้เงินฯ ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่
“เห็นว่า การกระทําดังกล่าวนอกจากจะเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือการครอบงําใดๆ
และต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๒ แล้ว ยังขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริตที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิญาณตนไว้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๓ และขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๖ วรรคสาม ที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงหนึ่งเสียงในการออกเสียงลงคะแนนมีผลทําให้การออกเสียงลงคะแนนของสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมพิจารณานั้นเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย
เมื่อกระบวนการออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงถือว่ามติของสภาผู้แทนราษฎรในกระบวนการตราร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อันมีผลให้ร่างพระราชบัญญัติให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พศ … ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
ส่วนในกรณีลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ศาลวินิจฉัย เช่นเดียวกันว่า เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริตไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย มิอาจถือว่าเป็นมติที่ชอบของรัฐสภาในกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ต่อมาปี 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) ลงมติถอดถอนนายนริศร ด้วยคะแนน 221 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ทำให้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
คดีอาญา ลากยาวมาจนถึงปี 2562 อัยการและ ปปช ได้ยื่นฟ้องนายนริศรต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายนริศร ใช้ตำแหน่ง สสของเพื่อนเป็นหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณา ศาลพิจารณาเเล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายนริศร โดยตีราคาประกัน1ล้านบาท
อ่านคำวินิจฉัย คดี พรบกู้เงิน http://wwwconstitutionalcourtorth/…/fil…/center3-4_57pdf
คดีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา สว http://wwwconstitutionalcourtorth/…/f…/center15-18_56pdf