ศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าบริเวณที่ตั้งมัสยิดบาบรี เมืองอโยธยาทางตอนเหนือของอินเดีย
ศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าบริเวณที่ตั้งมัสยิดบาบรี เมืองอโยธยาทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูที่นับถือพระราม แม้จะเคยมีการตั้งมัสยิดในพื้นที่ดังกล่าวมาก่อน โดยข้อขัดแย้งนี้เป็นหนึ่งในข้อขัดแย้งทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
พื้นที่มัสยิดบาบรีใน เมืองอโยธยาซึ่งอยู่ในแคว้ยอุตตรประเทศของอินเดียเป็นสถานที่ซึ่งชาวฮินดูบางส่วนเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระรามตามตำนานรามายณะ แต่ถูกมัสยิดสร้างทับ ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างสองศาสนามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
ก่อนหน้านี้ข้อถกเถียงเรื่องศาสนาในพื้นที่นี้ก่อความรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง ปี 1992 ม็อบชาวฮินดูบุกเข้ารื้อมัสยิดทำให้มีการจราจลจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน เนื่องจากเชื่อว่าเดิมเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูแต่ถูก “ผู้รุกราน” เข้ามาสร้างสิ่งก่อสร้างทับ
ขณะที่ชาวมุสลิมกล่าวว่ามัสยิดนี้เป็นของชาวมุสลิมจนกระทั่งมีคนเอารูปปั้นพระรามมาตั้งในปี 1949 ทำให้คนเริ่มเชื่อว่านี่เป็นสถานที่กำเนิดของพระราม จนมีการเรียกร้องให้ตั้งเทวสถานขึ้น
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 ศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าพื้นที่นี้เป็นของชาวฮินดู โดยจะมีการยกพื้นที่ใหม่ให้ชาวมุสลิมสร้างมัสยิดใหม่แทน
ก่อนหน้านี้ในปี 2002 ศาลสูงสุดเมืองอัลลาฮาบัต ประจำอุตรประเทศเคยตดสินมาก่อนในปี 2002 โดยตัดสินยืนยันว่าพื้นที่ที่มีความขัดแย้งเป็นพื้นที่ประสูติของพระรามจริง ๆโดยมัสบิดบาบรีสร้างขึนทับเทวสถานของชาวฮินดู และไม่ได้สร้างขึ้นตามหลักศาสนาอิสลาม โดยมีคำสั่งศาลให้แบ่งสถานที่รอบ ๆ ออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งให้ชาวมุสลิม ส่วนหนึ่งให้ชาวฮินดู ส่วนจุดศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นของชาวฮินดูเช่นกัน แต่คำตัดสินนี้ถูกอุทธรณ์และส่งมายังศาลสูงสุดจนกำลังจะมีการตัดสินเร็ว ๆ นี้
ก่อนการตัดสินรัฐบาลอินเดียอกมาเตรียมการรับการตัดสินนี้โดยร้องขอให้ประะชาชนรับฟังด้วยความสงบ มีการวางกำลังตำรวจทหารไว้เพื่อรับมือกับความโกรธของประชาชนฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และมีการกักประชาชนบางส่วนไว้เพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรง มีการปิดโรงเรียนและปิดถนนรอบ ๆ
ปัจจุบันอินเดียมีความขัดแย้งทางศาสนาสูงมาก ส่วนหนึ่งมาจากกระแสชาตินิยม โดยนเรนทรา โมดี้ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองก็ถูกมองว่าส่งเสริมวาทกรรมชาตินิยมและให้อภิสิทธิ์ต่อประชาชนฮินดูเป็นพิเศษ เห็นได้จากการประกาศลดสถานะการปกครองตนเองของแคว้นแคชเมียร์ซึ่งคนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม