บทความวิชาการชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ของนิวซีแลนด์ เขียนโดยคณะแพทย์ชาวไทย 3 ท่าน
บทความวิชาการชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ของนิวซีแลนด์ เขียนโดยคณะแพทย์ชาวไทย 3 ท่านกับนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส วิสัญญีแพทย์ชาวออสเตรเลีย ทั้งหมดล้วนอยู่เบื้องหลังการนำสมาชิกทีมหมูป่า 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย เมื่อปีก่อน
ในเนื้อหา ระบุ ถึงการตัดสินใจใช้ ยาสลบในกลุ่ม เคตามีน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ยาเค ให้กับสมาชิกทีมหมูป่า จากนั้นให้ใส่หน้ากากออกซิเจนแบบเต็มหน้าและสวมชุดดำน้ำที่ค่อนข้างหลวม ก่อนจะนำตัวทุกคนออกมาจากถ้ำ โดยที่คณะแพทย์ต้องให้เคตามินแก่ทีมหมูป่าเป็นระยะ เพื่อทำให้เด็กๆ ไม่เกิดอาการตื่นตกใจและพาออกจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า สมาชิกทีมหมูป่าคนที่ 2 เกิดภาวะร่างกายสูญเสียความร้อน จนอุณหภูมิภายในร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้แพทย์ต้องตรวจอุณหภูมิของสมาชิกทุกคนที่ออกมาจากถ้ำ ขณะที่หมอริชาร์ด แฮร์ริส เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ภารกิจนี้ว่า เขาไม่คิดว่าจะวิธีที่ปลอดภัย คิดว่าเด็ก 2 คนแรกอาจจะจมน้ำไปด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้ต้องหาวิธีอื่นแทน มองแล้วการรอดชีวิตเป็นศูนย์
ทั้งนี้ ยากลุ่มเคตามีน ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ครั้งแรก ให้เป็นยาบรรเทาปวดและยากล่อมประสาทของทหารอเมริกันในสงครามเวียดนาม ต่อมาถูกนำมาใช้ในเป็นสารเสพติดตามงานปาร์ตี้ เนื่องจากผลข้างเคียง ที่ทำให้มีอาการประสาทหลอน และลืมความรู้สึกเจ็บปวด.
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
- 'โค้ชเอก' ขอทำตามฝัน หลังลาออกทีมหมูป่า
- UN ชื่นชม รบ.ไทย มอบสัญชาติให้สมาชิกทีมหมูป่า
- ชมภาพประทับใจ ทีมหมูป่าอะคาเดมี พบ5นักดำน้ำอังกฤษ
- ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง ช่วยทีมหมูป่า ขอความเป็นธรรม ถูกอมเงินช่วยเหลือ! เผยครอบครัวลำบาก
- ฉายตัวอย่าง เดอะเคฟนางนอน ในเบอร์ลินผกก. ทอม วอลเลอร์ ยันหนังสมจริงสุดๆ
ที่มา one31