ไซเบอร์ดายน์ บริษัท หุ่นยนต์ไซบอร์กการแพทย์ชั้นนําของโลกจากญี่ปุ่นเปิดตัวในไทย เชื่อมั่นในศักยภาพไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับโลก
ไซเบอร์ดายน์ บริษัท หุ่นยนต์ไซบอร์กการแพทย์ชั้นนําของโลกจากญี่ปุ่นเปิดตัวในไทย
เชื่อมั่นในศักยภาพไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับโลก
บริษัท ไซเบอร์ดายน์ แถลงเปิดตัวธุรกิจให้บริการหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการเปิดตัวจัดขึ้นภายในงานสัมมนาการแพทย์หุ่นยนต์ล้ำยุคประจําปี 2562 (International Advanced Medical Robotics Symposium 2019) จัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ
ศ.ดร. โยชิยูกิ ซานไค ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัทไซเบอร์ดายน์
ศ.ดร. โยชิยูกิ ซานไค ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัทไซเบอร์ดายน์ กล่าวว่า “การเปิดตัวครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากบริษัท Cyberdyne ประสบความสําเร็จในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับหรือเดินได้ให้มีความสามารถในการเดินหรือช่วยตัวเองได้อีกครั้งหนึ่งในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ ซาอุดิอาระบีย มาเลเซีย และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบุคส์ (Brooks Rehabilitation) ในมลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลด้านกายภาพบําบัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐใช้หุ่นยนต์ไซบอร์กของ Cyberdyne ในการกายภาพบําบัดให้แก่คนไข้ที่ไม่สามารถฟื้นฟูร่างกายให้เดินเองได้ด้วยวิธีการรักษาแบบปกติ
Cyberdyne ให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทํางานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คนที่เป็นอัมพาตส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไปถึงเท้าจะใช้ไซบอร์กรุ่นระบบขา (HAL Lower Limb Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้หรือสูญเสียความสามารถในการนั่งจะใช้ไซบอร์กระบบเอว (HAL Lumbar Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยืดหรือหดข้อได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน มือ เข่า หรือ เท้า จะใช้ไซบอร์กระบบข้อ (HAL Single Joint Type) และคนไข้ที่มีปัญหาในการขยับนิ้วมือจะใช้ระบบมือในการช่วยฟื้นฟูความสามารถในการหยิบจับกําและแบมือ (Hand Hope)
การทํางานของหุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne ใช้ระบบปฏิบัติการผสมผสาน (HAL - Hybrid Assitive Limb) ซึ่งเป็นระบบที่แพทย์สามารถเลือกได้ระหว่างแบบให้คนไข้สั่งการหุ่นยนต์เองด้วยการคิด หรือ แบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของหุ่นยนต์ Cyberdyne ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้หุ่นยนต์ของ Cyberdyne เป็นไซบอร์กด้วย เนื่องจาก ระบบการทํางาน ที่คนไข้สั่งการได้เองจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณไฟฟ้าจากสมองมนุษย์ (Bio Electrical Signal) และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของหุ่นยนต์ การทํางานช่วยเหลือกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์นี้เองทําให้หุ่นยนต์ก้าว เดินหรือขยับตามคําสั่งจากสมองมนุษย์ การฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีนี้จึงเปรียบเสมือนการทํางานปกติระหว่างสมองและ ร่างกายนั่นเอง ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลการรักษาในคนไข้ทั่วโลกปรากฏว่า การรักษาด้วยวิธีการนี้ (Cybernic Treatment) มีผลให้เส้นใยประสาทที่ขาดไปกลับมามีปฏิสัมพันธ์กันและเชื่อมต่อกันอีกครั้ง มีผลให้คนไข้จํานวนมาก สามารถขยับ เดิน และ พึ่งตนเองได้อีกครั้งหนึ่ง
โดย Cyberdyne จะให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์ผ่านการให้บริการของโรงพยาบาลหรือคลินิก ฟื้นฟูกายภาพเท่านั้น โดยมีตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย คือ Zignature Robotics ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-115-8981 ตามเวลาราชการ หรือ [email protected]