โคตรอึด! นักวิจัย พบ ‘พยาธิตัวกลม’ ในไซบีเรีย ฟื้นคืนชีพ หลังจากจำศีลไป 46,000 ปี
โคตรอึด! นักวิจัย พบ ‘พยาธิตัวกลม’ ในไซบีเรีย ฟื้นคืนชีพ หลังจากจำศีลไป 46,000 ปี
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม NHK รายงานว่า ทีมวิจัยนานาชาติได้เปิดเผยว่า พยาธิตัวกลม ที่พบในเพอร์มาฟรอสต์ (ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือชั้นดินที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง) ในไซบีเรีย มีอายุมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
ทีมวิจัย ได้ฟื้นคืนชีพพยาธิ และพบว่ามันอยู่ในสถานะของ “suspended animation” หรือการระงับการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ เพื่อชะลอหรือหยุดการทำงานของชีวภาพในร่างกาย โดยมันอยู่ในสถานะนี้กว่า 46,000 ปี
การค้นพบนี้ อาจชี้ให้เห็นถึงวิธีการปรับตัวของสัตว์เมื่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ทีมนักวิจัยดังกล่าว มาจากรัสเซีย เยอรมนี และอื่นๆ ได้ตีพิมพ์สิ่งนี้ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ออนไลน์ PLOS Genetics ของสหรัฐ เมื่อพฤหัสบดีที่ผ่านมา
นักวิจัยกล่าวว่า เจ้านีมาโทดา หรือหนอนตัวกลมนี้ เริ่มเคลื่อนไหวหลังจากที่มันถูกละลายในห้องแล็บ โดยพวกเขาพบว่า มันอยู่ในสถานะพักตัวที่เรียกว่า cryptobiosis หรือสภาวะไร้ชีวิต ประมาณ 46,000 ปี
สิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้น สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย รวมถึงการทำให้แห้ง แช่แข็ง หรือเข้าสู่สภาวะอยู่เฉยๆ เป็นเวลานาน นักวิจัยเปิดเผยว่า มันอาจสร้างสถิติใหม่ เป็นสัตว์ที่รอดชีวิตด้วยสภาวะอยู่เฉยๆ ได้
ที่มา : https://www.matichon.co.th/