วันนี้เรือประมงพื้นบ้านจะนะเปลี่ยนสถานะเป็นกองทัพเรือขนาดย่อม ชุมนุมรวมพลที่คลองสะกอม
วันที่ 13 ธ.ค. 63 ที่สะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1) เดินทางมาพบปะ เพื่อร่วมกันเจรจากับชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่มาปักหลักอยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐเป็นวันที่ 4”
นายสุภรณ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับทราบปัญหาแล้ว โดยก่อนหน้านี้ได้เชิญรองเลขาธิการ ศอ.บต. รองอธิบดีกรมโยธา หน่วยงานของ จ.สงขลา และหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องมาทำการพูดคุย เพราะอยากให้กระบวนการเป็นไปโดยชอบธรรม และอยากให้พี่น้องได้เข้าไปมีส่วนร่วม สำหรับ 2 ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน ข้อที่ 2 นั้นตนเองไม่มีปัญหา แต่ข้อที่ 1 จะนำมาเป็นเรื่องหลักที่ต้องพิจารณาก่อน ในประเด็นการให้ยุติโครงการและศึกษา SEA ใหม่ พรุ่งนี้จะนำเรื่องกราบเรียน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สำหรับการเดินทางมาในวันนี้ ถือว่ามารับฟังปัญหาและร่วมพูดคุยกับชาวบ้าน อยากขอความร่วมมือชาวบ้านด้วยความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับการเปิดช่องทางการจราจร
นายสุภรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองเข้าใจประเด็นการต่อสู้ของพี่น้องประชาชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณในการสัญจร จึงอยากขอความร่วมมือให้พี่น้องเปิดช่องทางจราจร ส่วนประเด็นความคืบหน้าของการดำเนินโครงการนั้น จะพิจารณาตามความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง และระบุว่า “เรามาเสนอความเดือดร้อน แต่ต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย เพราะพรุ่งนี้เป็นวันจันทร์ผู้คนต้องเดินทางไปทำงาน พรุ่งนี้จะนำเรื่องไปประสานให้ วันนี้ขอให้ขยับมุมให้นิดหน่อย และจะดูแลความเรียบร้อยให้ หากประชาชนให้ความร่วมมือ คิดว่าการเจราจากับทางผู้ใหญ่จะทำให้ทำงานไม่สะดุด”
ด้าน พ.ต.อ.อรรถวิทย์ กล่าวถึงกรณีของการวางตู้คอนเทนเนอร์บนสะพานชมัยมรุเชฐว่า จากเหตุการณ์วันที่ 10 ธ.ค. 63 มีการปิดพื้นที่หลายจุด เพราะช่วงนั้นมีการชุมนุมของกลุ่มราษฎร ประกอบกับกลุ่มชาวบ้านที่เดินทางมาช่วงเวลาเดียวกัน ฝ่ายความมั่นคงประเมินว่าหากสองกลุ่มมารวมกันจะเกิดปัญหา ซึ่งตนเองเข้าใจธรรมชาติของผู้มาเรียกร้องว่าต้องสร้างแรงกดดัน ประเมินได้เลยว่าหากรื้อตู้ออกพี่น้องจะต้องไปอยู่ที่ประตูทำเนียบแน่นอน และหากมีกลุ่มราษฎรมาร่วมด้วยจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะมีเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง แต่หากเป็นปัญหาของพี่น้องชาวจะนะโดยตรง จะมาตั้งโต๊ะเจรจาตรงไหนก็ได้ พร้อมยืนยันว่าจุดนี้ต้องมีการเปิดช่องทางการจราจร เพราะเป็นเส้นทางหลัก เนื่องจากพรุ่งนี้เป็นวันเปิดราชการแล้ว เชื่อว่าการมาอยู่สามวันที่ผ่านมาแรงกดดันต้องถึงผู้ใหญ่แล้ว
นอกจากนี้ พ.ต.อ.อรรถวิทย์ ยังระบุด้วยว่า วันที่พี่น้องมีการเสวนา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมการจะรื้อตู้คอนเทนเนอร์แล้ว แต่มีการย้ายพื้นที่เสียก่อน ส่วนที่พี่น้องกล่าวถึงประเด็นการรักษาสัจจะ โดยกลยุทธ์การเรียกร้องของฝ่ายความมั่นคง ต้องดูความเป็นไปได้หลายๆ อย่างประกอบด้วย
ด้วยกลยุทธ์หลากหลายทั้งในพื้นที่และกทม.ศูนย์รวมอำนาจรัฐบาลสืบทอดอำนาจประยุทธ์ จันทร์โอชาแต่ข้อเสนอ “เดียวกัน”และ
“#คนจะนะพวกเราไม่ได้ปฏิเสธว่าบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า หากแต่การพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกชอบธรรม และต้องเคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
#ให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่จะนะและพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ต่อไป”
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ประกอบด้วยกลุ่มชาวบ้านจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พื้นที่ตั้งโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมจะนะ ราว 50 คน ได้เดินทางมากรุงเทพมหานคร ประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่า พิธีกรรมศาสนา ละหมาดตามวิถีมุสลิมประจำวัน เรียนศาสนา (เป็นแสดงสัญลักษณ์) อภิปราย เสวนาวิชาการ และอื่นๆจนมีผู้เห็นต่างจากรัฐในประเด็นต่างๆ นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักเรียนนิสิตนักศึกษาและนักการเมืองแม้แต่นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
สส.เขต 7 นาทวี จากพรรคภูมิใจไทย มาให้กำลังใจจนทุกสื่อทุกสำนักทั้งรายถ่ายทอดสด รายงานข่าว ทำสกู๊ปข่าวต่อเรื่องนี้
ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ กล่าวว่า
“วันนี้ ศุกร์ 11 ธันวาคม 63 ผมทราบข่าว จากสื่อเมื่อคืน พี่น้องชาว จะนะ จ.สงขลา มายื่นหนังสือ ให้กับนายกรัฐมนตรี “เมืองต้นแบบจะนะ” ผมในฐานะ คนจะนะ ทราบข่าว ไปเยี่ยมให้กำลังใจ ดูแลเรื่องที่หลับที่นอน ที่ละหมาด นำ้ละหมาด ห้องนำ้ อาหาร ในการต่อสู้เราไม่สนใจใครถูกใครผิด แต่เมื่อคนบ้านเรามา ต้องดูแลตามอัตภาพ อย่างน้อยเราทำตามหลักมนุษยธรรม ไม่ได้ทำเพื่อการเมืองทุกเรื่อง”
ในขณะที่ วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา
14:00 น.มีการรวมตัวประท้วง
“การรวมตัวของเรือประมงพื้นบ้าน ณ คลองสะกอม
พรมแดน จะนะ -เทพา จ.สงขลา” โดยชาวประมงวิ่งเรือออกจากท่าเรือริมคลองสะกอม
มารวมตัวกันบริเวณคลองสะกอมใต้สะพานปากบางสะกอม
(ข้ามระหว่างบ้านปากบางสะดอม ม.1 ตสะกอม อ.เทพา ไปยัง บ้าน
ปากบาง ม.4 ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา)สมาชิกครอบครัวชาวประมงพื้นบ้านรวมตัวกัน ณ สะพานปากบางสะกอมชี้แจงข้อมูลผลการรวมตัวเพื่อสนับสนุนตัวแทนพี่น้องจะนะซึ่งไปปักหลักเรียกร้องอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอ่านจดหมายจากชาวประมงพื้นบ้าน หลังจากนั้น
15:00 น. เรือประมงพื้นบนติดป้ายสัญลักษณ์เหตุผลในการคัดค้าน
นิคมอุตสาหกรรม
15:30 น. ขอพร(ดูอาปิด)กิจกรรม #SAVECHANA
นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจให้ทัศนะว่า “
กองทัพเรือประมงพื้นบ้าน ซึ่งรวมตัวประกาศไม่เอานิคมฯจะนะ ครั้งนี้ในพื้นที่ เป็นเรือประมงพื้นบ้าน ชุมนุมทางน้ำ หยุดนิคมอุตสาหกรรมจะนะ หนุนเสริมการเคลื่อนไหวของพี่น้องที่กรุงเทพฯ
วันนี้เรือประมงพื้นบ้านจะนะเปลี่ยนสถานะเป็นกองทัพเรือขนาดย่อม ชุมนุมรวมพลที่คลองสะกอม เพื่อส่งสัญญาณบอกรัฐบาลว่า พี่น้องประมงพื้นบ้านอำเภอจะนะจะสู้ไม่ถอย เพราะหากมีนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกรวมทั้งโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น ทะเลจะนะหายนะ ต้องมีการขุดทะเลให้ลึกมากกว่า 16 เมตร เพื่อให้เรือใหญ่เข้ามาส่งก๊าซหรือสินค้าทุกวัน ปูปลากุ้งหอยหมดสิ้น การรวมพลังครั้งนี้ไม่ธรรมดา ภาพกองทัพเรือครั้งสุดท้ายของชาวบ้านเช่นนี้ เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเมื่อคัดค้านโรงแยกแก๊ซจะนะ การคัดค้านในครั้งนั้นแม้โรงแยกแก๊ซจะสร้างสำเร็จแต่นิคมอุตสาหกรรมรอบโรงแยกแก๊ซตามแผนเดิมที่มีหลายพันไร่ก็ไม่อาจสร้างได้จนถึงทุกวันนี้ หากรัฐบาลยังดื้อดึงจะสร้างนิคมอุตสาหกรรมชนะให้จงได้ พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านพร้อมจะรวมพลใหญ่ขึ้นกรุงเทพ ไปหน้าทำเนียบรัฐบาล เร็วๆนี้”
ด้วยกลยุทธ์หลากหลายทั้งในพื้นที่และกทม ครั้งนี้แต่ข้อเสนอ “เดียวกัน”คือ
1.รัฐบาลต้องยุติการดำเนินโครงการจะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตทั้งหมด ทั้งการแก้ไขผังเมือง และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA. ในทันที เพื่อหยุดมรดกอัปยศอันไม่ชอบธรรมที่ส่งต่อมาจากระบอบ คสช.
2. เมื่อยุติการเดินหน้าโครงการแล้ว ให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ต่อไป
พวกเราไม่ได้ปฏิเสธว่าบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า หากแต่การพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกชอบธรรม และต้องเคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงหวังว่ารัฐบาลจะเปิดใจรับฟังเรียกร้องดังกล่าว
นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ แจ้งว่า “
ตำรวจนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร นำประกาศของตำรวจให้ผู้ชุมนุมจะนะย้ายออกจากบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ภายใน 18:00 น ของวันที่ 12 ธันวาคม ซึ่งชาวบ้านผู้ชุมนุมได้มีการประชุมกันแล้วมีมติ ไม่ย้ายออก เพราะกำแพงที่มาตั้งปิดกั้น(ซึ่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ 2 ชั้นที่ทางรัฐบาลมากั้นปิดสะพานพร้อมลวดหนามยังอยู่ครบ) จึงไม่มีเหตุให้ชาวบ้านต้องย้ายออก การกีดขวางทางจราจรนั้นไม่ได้เกิดจากชาวบ้าน แต่เกิดจากตู้คอนเทนเนอร์ของ ทางราชการที่เอามาวางต่างหาก
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แรงกดดันจากภาครัฐกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว แรงสนับสนุนจากพี่น้องทั่วประเทศจึงมีความหมายอย่างยิ่งในการที่จะช่วยทำให้ภาครัฐไม่กล้าลงไม้ลงมือกับชาวบ้านที่มาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ และเรียกร้องเรื่องที่เขาเดือดร้อนโดยตรงจริงๆทั้งต่อสาธารณะและผู้มีอำนาจ
ชาวบ้านยืนยัน เราจะไม่ไปไหน เราจะสู้ที่นี่ เราจะสู้เพื่อจะนะ
แถลงการณ์ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ฉบับที่ 1
เรื่อง ยกเลิกโครงการอุตสาหกรรมจะนะ หยุดสืบทอดมรดกอัปยศยุค คสช.
โครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” คือ มรดกตกทอดจากยุค คสช. ด้วยเป็นโครงการที่ถูกอนุมัติทิ้งทวนการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายในยุคนั้น จึงเห็นถึงความผิดปกติตั้งแต่ต้น จนเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นผู้นำรัฐบาลอีกครั้ง ภายใต้พรรคพลังประชารัฐ โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะจึงถูกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่อเรื่องนี้หลายครั้งเพื่อรวบรัดขั้นตอนการดำเนินงานจนผิดปกติ ยังให้มีข้อพึงสงสัยต่อท่าทีของรัฐบาลว่ากำลังเอื้อประโยชน์ หรือตอบแทนบุญคุณให้กับกลุ่มบริษัทในตระกูล TPIPP หรือไม่ เพราะทราบว่าช่วงการเลือกตั้งได้บริจาคเงินทุนให้กับพรรคพลังประชารัฐหลายล้านบาท ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการดำเนินงานในหลายขั้นตอนของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นไปโดยมิชอบ ตามที่เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเคยร้องเรียนไปแล้วผ่านกลไกต่าง ๆ
โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เป็นกิจการของเอกชน 2 บริษัท คือ TPIPP. และ IRPC. ต้องใช้เนื้อที่กว่า 16,700 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือตำบลสะกอม ตำบลตลิ่งชัน และตำบลนาทับ ถือได้ว่าเป็นโครงการนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับประชาชนในพื้นที่ในหลายมิติ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การกัดเซาะชายฝั่งทะเล มลพิษ สูญเสียแหล่งจับสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นบ้าน เสียพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงสังคมวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิมที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด
ที่ผ่านมา เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นได้พยายามยื่นหนังสือผ่านกลไกต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลได้ทบทวนกระบวนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด โดยเฉพาะวิธีการทำงานที่ผิดเพี้ยนไร้ความเป็นมืออาชีพ ของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ที่ใช้อำนาจจนเกินงามและกลายเป็นผู้สร้างปัญหา สร้างความขัดแย้งใหม่ระหว่างประชาชนด้วยกันเอง และรวมถึงการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ถูกบีบบังคับให้แก้ไขผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วงรองรับโครงการดังกล่าว จนต้องละเลยขั้นตอนสำคัญของกฏหมายที่บัญญัติไว้
ปรากฏการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงการลุแก่อำนาจของรัฐบาลอันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากยุค คสช. ด้วยหวังจะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้ทุกรูปแบบ แม้แต่การปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยต่อโครงการนี้อย่างแยบยล รวมถึงการใช้กลไกความมั่นคงชายแดนภาคใต้ อย่าง ศอ.บต. เข้าไปสร้างกลุ่มสนับสนุนโครงการอย่างเป็นระบบ สร้างการสื่อสารเฉพาะด้านจนนำไปสู่ความแตกร้าวของชุมชนอย่างหนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราไม่สามารถยอมรับได้อีกต่อไป จึงเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ดังนี้
1.รัฐบาลต้องยุติการดำเนินโครงการจะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตทั้งหมด ทั้งการแก้ไขผังเมือง และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA. ในทันที เพื่อหยุดมรดกอัปยศอันไม่ชอบธรรมที่ส่งต่อมาจากระบอบ คสช.
2. เมื่อยุติการเดินหน้าโครงการแล้ว ให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ต่อไป
พวกเราไม่ได้ปฏิเสธว่าบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า หากแต่การพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกชอบธรรม และต้องเคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงหวังว่ารัฐบาลจะเปิดใจรับฟังเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งพวกเราจะอยู่รอรัฐบาล ณ ที่แห่งนี้ด้วยความสงบ จนกว่าจะได้รับคำตอบ
แถลง ณ ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 10 ธันวาคม 2563
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
[email protected]
ที่มา spmcnews.com