รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมการแพทย์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วย และมอบนโยบาย
เฮลั่น บรรจุโรคมะเร็ง เข้านโยบาย 30 รักษาทุกที่
เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมการแพทย์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วย และมอบนโยบาย “มะเร็งรักษาทุกที่ ที่มีความพร้อม” แก่ทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วย
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีความรุนแรง เมื่อตรวจพบแล้ว จำเป็นต้องรักษาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 แต่รัฐบาล ได้จัดสรรงบประมาณ ไว้ดูแลผู้ป่วยโรคอื่นเช่นกัน และโรคมะเร็ง เป็นโรคที่ต้องให้ความสำคัญ มีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข รวมไปถึงได้นำแพทย์ทางเลือก มาช่วยบรรเทาอาการ อาทิ
การใช้กัญชา ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ขณะเดียวกัน ได้เพิ่มขีดความสามารถในการรักษา อาทิ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เริ่มให้คีโม ถึงบ้านผู้ป่วย ส่งผลให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น รมว.สธ. กล่าวอีกว่า ตนได้มีโอกาสหารือกับอธิบดีกรมการแพทย์ ทราบว่าประเทศไทยต้องการเครื่องฉายรังสีอีก 6-7 เครื่อง
เพื่อขยายศักยภาพการให้บริการประชาชน ได้ผลักดัน ล่าสุด ทางพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว จะมีการจัดหา และนำมาติดตั้งตามโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เป็นแนวทางการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งโรคมะเร็ง ได้รับเลือกเป็นลำดับต้นๆให้เข้าร่วมในโครงการนี้ เพราะมีความรุนแรง และต้องรีบรักษา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 โรงพยาบาลของรัฐที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง สามารถให้บริการได้ทันที
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จากนี้ ทางกระทรวงฯ จะต้องยกระดับคุณภาพของทุกโรงพยาบาล ให้มีขีดความสามารถในการรักษาเท่าๆ กัน” รมว.สธ. กล่าว โดยกรมการแพทย์ได้พัฒนา 4 โปรแกรมขึ้นมารองรับนโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ท่มีความพร้อม ได้แก่
1.โปรแกรมฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็ง Thai Cancer Based (TCB) ที่ต่อยอดเป็น TCB Plus เพื่อให้ใช้ลงทะเบียนและรับส่งต่อผู้ป่วย
2.The One Program เพื่อใช้บริหารจัดการคิวในการตรวจทางรังสีวินิจฉัย และการรักษาด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด โดยผู้ป่วยมะเร็งสามารถเลือกประเภทการตรวจหรือรักษา เช่น การทำ MRI, แมมโมแกรม, ซีทีสแกน เป็นต้น ซึ่งแต่ละบริการจะระบุจำนวนโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้บริการ เมื่อเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการแล้ว สามารถเลือกวันและเวลาที่ผู้ป่วยสะดวกได้ ซึ่งจะมีตารางให้เห็นว่า รอบบริการไหนที่มีคิวเต็มแล้วหรือยังว่างอยู่ เปรียบเสมือนการชมภาพยนตร์ที่สามารถเลือกภาพยนตร์ที่ชอบ เลือกโรงหนัง เลือกรอบเวลาและที่นั่งตามสะดวก
3.โปรแกรม DMS bed Monitoring เพื่อใช้บริหารจัดการเตียง และ4.แอปพลิเคชัน DMS Telemedicine ที่ใช้นัดคิวเพื่อรับการปรึกษาทางไกล (Tele-Consult) กับแพทย์ได้ ขอนัดรับยา ติดตามการรับยาทางไปรษณีย์ เป็นต้น
ที่มา: คมชัดลึก