ผบตรจัดระเบียบการตั้งด่านตำรวจใหม่ กำหนดแนวทาง ออกแบบโมเดลการตั้งด่านของตำรวจ
พล.ต.อ.มนู เมหหมอก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชผบ.ตร. พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปะชัย รอง ผบชน. และ พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. นำกำลัง ตรวจการตั้งด่าน ตั้งจุดตรวจทดลอง “จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของ สน.ทองหล่อ”
ทั้งนี้แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ของด่านตำรวจ ยุค พล.ต.อ.สุวัฒน์ คือ
1. การตั้งจุดตรวจต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป
2. การตั้งจุดตรวจต้องมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน
3. จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้ โต๊ะตรวจวัดฯ ในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดฯ มองเห็นได้ชัดเจน
4. การกำหนดสถานที่ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ ต้องกำหนดมาจาก
- ข้อมูลผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับในเขตพื้นที่
- สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ
- สภาพการจราจร ความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสำคัญ
- ความสะดวก มีที่จอดยานพาหนะของผู้ขับขี่ มีไฟฟ้าสำหรับใช้ที่จุดตรวจฯ เช่น สำหรับกล้องวงจรปิด สัญญาณไฟวบวาบ และเครื่องพิมพ์ผลการตรวจ เป็นต้น
5. จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า "หยุดตรวจ" โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจ และในเวลากลางคืนจะต้องมีแสไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และก่อนถึงจุดตรวจให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง ของหัวหน้าด่านตรวจ หรือจุดตรวจดังกล่าว
6. การสื่อสารกับประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้กระทำผิดเข้าใจ ข้อกล่าวหา โดยใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ
7. การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอลให้ปฏิบัติตามมาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจและจุดสกัด ตามที่ ตร.ได้เคยสั่งการไว้อย่างเคร่งครัด นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ บันทึกข้อมูลการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ตามแผนการปฏิบัติ ลงในระบบการจัดทำแผนการตั้งจุดด่านตรวจกวดขันวินัยจราจร (Police Traffic Checkpoint Control)
8.ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ทุกนาย บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ด้วยกล้องบันทึกภาพคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการปฏิบัติหน้ที่ และเพื่อยืนยันหลักความโปร่งใสการตรวจสอบได้
9. การตรวจวัดแอลกอฮอล์ ให้มีการตรวจเบื้องต้นและแบบยืนยันผล และต้องบันทึกการตรวจทั้งสองแบบด้วยกล้องบันทึภาพเคลื่อนไหว แบบดิจิตอลชนิดใส่ซิมเน็ต เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบได้แบบ real time
10. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต
- จัดโต๊ะสำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผลให้มีแสงสว่างมากพอ เป็นสถานที่เปิดเผย ป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยจากประชาชน
- มีบ้ายไว้ตรงบริเวณจุดตรวจวัดฯ มีข้อความว่า "จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สน./สภ..... มีการบันทึกภาพคลื่อนไหวแบบดิจิตอลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นมาตรฐานสากล"
- เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว ให้หัวหน้าจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
- ให้หัวหน้าสถานีตรวจสอบข้อมูลการตรวจที่พิมพ์จากครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ หากพบข้อมูลผิดปกติ ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป
- ให้หัวหน้าสถานีตำรวจจัดทำระบบจัดเก็บไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลการตรวจวัดแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวัดฯ ในภายหลัง
- จัดให้มีแผ่นป้ายแสดข้อความว่า "หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับบัญชา โทร...ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของ ผบก.ไว้ หรือ แจ้งร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ สายด่วน หมายเลข1599" ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
นอกจากนี้ยังกำหนดโมเดลการตั้งด่านว่า ในโรงพักขาดใหญ่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำด่าน 12 คน
ที่มา PPTVOnline