ไผ่ ดาวดิน คือใคร มารู้จักแกนนำแนวร่วมเยาวชนปลดแอก เปิดแฟ้มประวัติไม่ธรรมดา
ไผ่ ดาวดิน คือใคร มารู้จักแกนนำแนวร่วมเยาวชนปลดแอก
ไผ่ ดาวดิน หรือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ชื่อเล่น ไผ่) เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2534 ปัจจุบันอายุ 29 ปี แกนนำแนวร่วมเยาวชนปลดแอก ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมขณะชุมนุมที่บริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมด้วย 19 แกนนำ เหตุการณ์ชุลมุนเกิดขึ้นเมื่อช่วงเวลาประมาณ 15.50 น. วันนี้ (13 ต.ค.63) เจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มทยอยเดินทางเข้าพื้นที่เพื่อปักหลักชุมนุมใหญ่ในวันที่ #14ตุลา
คดีของไผ่ ดาวดิน
ย้อนกลับไปเมื่อ 19 พ.ย. 2557 นักศึกษากลุ่มดาวดิน 5 คน รวมถึงนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ร่วมกันชูสัญลักษณ์สามนิ้วต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างลงพื้นที่ใน จ.ขอนแก่น ทำให้นักศึกษาทั้งหมดถูกนำตัวออกจากพื้นที่ แต่ยังไม่มีการตั้งข้อหา พ.ค. 2558 ฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากการชูป้ายคัดค้านรัฐประหารที่ขอนแก่น มิ.ย.2558 ก.ม.อาญา ม.116 ข้อหายุยงปลุกปั่นจากการจัดกิจกรรมต่อต้านคสช.ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก.ค.2559 ชุมนุมเกิน 5 คน จัดอภิปราย "พูดเพื่อเสรีภาพ" ที่ม.ขอนแก่น ส.ค.2559 ละเมิด พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ กรณีแจกเอกสารรณรงค์แย้งร่างรธน. ธ.ค.2559 ถูกอัยการจังหวัดขอนแก่นยื่นฟ้อง ในความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ กรณีแชร์บทความจากบีบีซีไทย ไว้บนเฟซบุ๊กส่วนตัว กระทั่ง 15 ส.ค.2560 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษาให้จำคุก ‘ไผ่ ดาวดิน’ 5 ปี แต่รับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน ในความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ กรณีแชร์บทความจากบีบีซีไทย ไว้บนเฟซบุ๊กส่วนตัว
ไผ่ มักร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมอยู่บ่อยครั้ง เขาเป็นสมาชิกกลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘กลุ่มดาวดิน’ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และจากกรณีการขอประทานบัตรเหมืองทองคำที่จังหวัดเลย ซึ่งพวกเขาได้ใช้ตัวเองเป็นรั้วกั้นชาวบ้านระหว่างเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปกป้องชาวบ้านที่เผชิญกับความไม่ยุติธรรม ทำให้ได้รับรางวัล ‘เยาวชนต้นแบบ’ ในงานประกาศผลรางวัล ‘คนค้นฅน อวอร์ด’ ครั้งที่ 5
ไผ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยการทำแบบทดสอบด้านคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตรในขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ
ไผ่ เป็นเจ้าของรางวัลสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ โดยได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560 จัดโดยมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ต่อจาก นางอังคณา นีละไพจิตร ที่ได้รับรางวัลเมื่อปี 2549 และเป็นรางวัลเดียวกับที่นางอองซาน ซูจีเคยได้รับ
“นักโทษทางความคิด” คำอธิบายจากเว็บไซต์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
นักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) คือ บุคคลที่ถูกคุมขังหรือถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย เพียงเพราะการแสดงความคิด และหรือมีความเชื่อทางการเมือง ศาสนา ของตนที่แตกต่าง หรือเพียงเพราะมีชาติพันธุ์ เพศ สีผิว ภาษา ความเป็นมาด้านเชื้อชาติหรือสังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสถานะอื่นๆ ที่แตกต่าง โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนความรุนแรงหรือความเกลียดชัง พวกเขาถูกควบคุมตัว เพียงเพราะความเชื่อของตนเอง หรือเพียงเพราะอัตลักษณ์ของตนเอง โดยมิใช่เป็นเพราะอาชญากรรมที่ก่อขึ้น
นักโทษทางการเมือง (political prisoner) คือ บุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังในข้อหาคล้ายกับนักโทษทางความคิด เพียงแต่มีการใช้ความรุนแรงรวมอยู่ด้วย หรือใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (Hate speech)
อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงวัน 14 ตุลาคม 2563 นัดชุมนุมใหญ่ "ไผ่ ดาวดิน" และเพื่อนจะได้รับการปล่อยตัวหรือไม่ แต่บนเส้นทางม็อบกลางพายุฝนเวลานี้ช่างท้าทายยิ่งนัก!!
ที่มา: www.bangkokbiznews.com
ภาพบางส่วนจากอินเทอร์เน็ต