รู้จักแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) แร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จีนขู่ว่าจะระงับการส่งออกให้สหรัฐฯ หลังจากเริ่มตัดสัมพันธ์ทางการค้ากับ Huawei
รู้จักแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) แร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จีนขู่ว่าจะระงับการส่งออกให้สหรัฐฯ หลังจากเริ่มตัดสัมพันธ์ทางการค้ากับ Huawei
จากกรณีรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการค้ากับ Huawei ก่อนจะยอมถอยหนึ่งก้าว และให้ใบอนุญาตชั่วคราว 90 วัน กับหัวเว่ย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของหัวเว่ยในปัจจุบัน ต่อไปจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2562 นั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก : มาไวไปไว สหรัฐฯ ยอมถอยหนึ่งก้าว ยกเลิกแบน Huawei ชั่วคราวแล้ว)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (20 พฤษภาคม 2562) อมรินทร์ ทีวี รายงานว่า ในขณะที่ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มจะประกาศตัดสัมพันธ์ทางการค้ากับหัวเว่ย ทางด้านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำของจีน ก็มีการส่งสัญญาณด้วยการขู่ว่า จะไม่ส่งแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ที่ใช้ในการผลิต iPhone ให้กับสหรัฐฯ
โดยข้อพิพาทเกี่ยวกับแร่ดังกล่าว ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเพราะการคว่ำบาตรหัวเว่ยในปีนี้ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน ในวันที่ 13 มีนาคม 2555 ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีการยื่นข้อร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ในกรณีที่จีนกำหนดโควตาส่งออกแร่ที่มีธาตุโลหะหายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งเป็นแร่ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์จอแบน รวมไปถึงขีปนาวุธ การที่จีนจำกัดการส่งออก จึงทำให้ราคาแร่ในตลาดพุ่งตัวสูงขึ้นอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีประเทศที่นำเข้าแร่ดังกล่าวจากจีน
ด้วยเหตุนี้ แร่แรร์เอิร์ธ จึงอาจเป็นแร่สำคัญที่ทำให้ผู้นำจีนกล้านำมาเป็นประเด็นต่อรองกับผู้นำสหรัฐฯ ดังนั้น เราจึงลองมาทำความรู้จักกับแร่ดังกล่าวที่ตกเป็นประเด็นพิพาทระหว่างสองชาติยักษ์ใหญ่นี้กันดู
ตามที่ได้มีการกำหนดโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือ ไอยูแพ็ก (IUPAC) ได้กำหนด ธาตุหายาก หรือ ธาตุแรร์เอิร์ธ ได้ทั้งหมด 17 ธาตุ ซึ่งทุกธาตุอยู่ในหมู่แลนทาไนด์ รวมกับสแกนเดียม และอิตเทรียม ที่เป็นโลหะเบาที่หายาก เนื่องจากมีแนวโน้มว่า จะเกิดในสินแร่เหล็กเช่นเดียวกับธาตุในหมู่แลนทาไนด์ และมีสมบัติทางเคมีคล้ายกัน
อย่างไรก็ตาม ธาตุหายาก มีความอุดมสมบูรณ์ของข้างในเปลือกโลก ซึ่งมีซีเรียมเป็นธาตุที่มีมากที่สุดประมาณ 25 ส่วน ต่อ 68 ล้าน เหมือนกับทองแดง เพราะมีคุณสมบัติทางเคมีธรณีของพวกมัน แร่ธาตุหายากอยู่ห่างกันมากและไม่กระจุกตัว ซึ่งทำให้บนพื้นโลกธาตุเหล่านี้จึงหายาก และด้วยความหายากนี้ ทำให้ธาตุหายากมีราคาสูงและทำให้ขาดแคลนเป็นอย่างมาก แร่หายากชนิดแรกที่ค้นพบ คือ แร่แกโดลิไนต์ ซึ่งมีสารประกอบของซีเรียม อิตเทรียม เหล็ก ซิลิกอน และธาตุอื่น ๆ แร่นี้นำมาจากเหมืองของหมู่บ้าน Ytterby ในประเทศสวีเดน ซึ่งภายหลังได้นำชื่อหมู่บ้านนี้ไปตั้งเป็นชื่อธาตุอิตเตอร์เบียม
ในปัจจุบัน ธาตุหายากอย่าง Yttrium และ Europium นั้นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันการทำงานของ iPhone อย่างมาก เพราะมีการใช้ในแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ รวมถึงช่วยให้แสดงสีของหน้าจอแสดงผลออกมาดูดี และทำให้โทรศัพท์สั่นจากการโทร. เข้า หรือมีการแจ้งเตือนต่าง ๆ โดยทั้งสองธาตุนี้แม้จะเป็นส่วนน้อยในองค์ประกอบหลักของโทรศัพท์ แต่ก็ถือว่าหายากมากสำหรับการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยการผลิตสินค้าในปริมาณมาก
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 จนถึงปี ค.ศ. 2017 จีนเป็นประเทศที่มีการผลิตธาตุหายากเหล่านี้ได้ในประมาณมากที่สุดในโลก แต่ในขณะเดียวกัน แคนาดาก็เป็นผู้ส่งออกอะลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดไปให้สหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมาทาง Apple ก็มีการวางแผนที่จะยกเลิกการใช้ธาตุหายากเหล่านี้ในการผลิต iPhone รุ่นต่อไป โดยจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุรีไซเคิลแทน
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
- ข่าวด่วน! กูเกิลเริ่มตัดหัวเว่ยจากระบบ Android
- เผยรายชื่อ 55 จังหวัด ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินคนละ 1,500 เอาไปเที่ยวช้อปปิ้ง กระตุ้นเศรษฐกิจ
- อึ้งทั้งโรงพยาบาล พยาบาลสาวค้ายาบ้า ซุกของกลางในล็อกเกอร์ห้องICU
- เจ้าสาวใจสลาย เมื่อแฟนเก่าเจ้าบ่าวบุกถึงงานแต่ง สวมชุดเจ้าสาวคุกเข่าขอผู้ชายคืน (คลิป)
- กฎหมายชารีอะห์ บรูไน ประเทศใดใช้บทลงโทษนี้บ้าง?
ที่มา kapook