จัดได้เป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรที่ปลูกต้นไม้เป็นอาชีพหลัก เพราะตอนนี้ ธกส ได้อนุมัติปล่อยสินเชื่อ
จัดได้เป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรที่ปลูกต้นไม้เป็นอาชีพหลัก เพราะตอนนี้ ธ.ก.ส. ได้อนุมัติปล่อยสินเชื่อ โดยผู้กู้สามารถใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันได้ และยังให้วงเงินสูงถึง 500,000 บาท อีกด้วย แต่ต้นไม้ต้องเป็นเฉพาะต้นไม้มีค่าที่รัฐบาลเห็นชอบแล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 58 ประเภท แต่จะเป็นต้นอะไรบ้างนั้นวันนี้เรามีมาฝากกัน
สำหรับผู้สนใจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มีมติมอบสินเชื่อให้เกษตรกรในโครงการธนาคารต้นไม้ชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
โดยนายศรายุทธ ธรเสนา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลเห็นชอบให้การใช้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยกระทรวงพาณิชย์เสนอให้เพิ่มไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และมีการแก้ไขกฎหมายกรมป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ให้สามารถตัดต้นไม้ได้ทุกชนิดที่ขึ้นหรือปลูกในที่ที่มีกรรมสิทธิ์ ทำให้ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารต้นไม้ สนใจนำต้นไม้ที่ปลูกเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งทาง ธ.ก.ส.ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรไปแล้วจำนวน 4 ราย เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 500,000 บาท
ในส่วนของผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ ทาง ธ.ก.ส.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อบรมให้ความรู้กับคณะกรรมการและสมาชิกโครงการธนาคารต้นไม้ 400 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน รวม 800 คน เพื่อทำหน้าที่ประเมินมูลค่าต้นไม้ ถือได้ว่าเป็นข่าวดีมากๆ สำหรับเกษตกรและผู้สนใจที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้
สำหรับในเรื่องนี้ นายบุญเลิศ เต็มคอน ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ยังได้กล่าวด้วยว่า การใช้ต้นไม้มีค่าเป็นหลักประกันเงินกู้ ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาสนใจปลูกต้นไม้มีค่ากันมากยิ่งขึ้น อาทิ ไม้สัก ไม้แดง เพราะสามารถนำมาเป็นหลักประกันสินเชื่อได้ง่ายและยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าอีกด้วย
ทาง ธ.ก.ส. ยังมีเป้าหมาย ที่จะยกระดับโครงการธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไม้มีค่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ให้ได้ 300,000 ไร่ คาดว่าภายใน 10 ปี จะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศไม่ต่ำกว่า 137 ล้านต้น จากปัจจุบันที่มีประมาณ 12 ล้านต้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการกักเก็บคาร์บอน
และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแปลงรายได้สู่ชุมชนหลังรัฐบาลเห็นชอบให้ไม้มีค่า 58 ชนิด เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ทำให้ชาวบ้านให้ความสนใจปลูกไม้มีค่าเพิ่มขึ้น ขณะนี้ ธนาคาร ธ.ก.ส. เริ่มปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่อยู่ในโครงการธนาคารต้นไม้แล้ววงเงินกว่า 500,000 บาท
สำหรับต้นไม้มีค่าที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อได้ มีทั้งหมด 58 ชนิด ได้แก่
1 ไม้สัก
2 พะยูง
3 ชิงชัน
4 กระซิก
5 กระพี้เขาควาย
6 สาธร
7 แดง
8 ประดู่ป่า
9 ประดู่บ้าน
10 มะค่าโมง
11 มะค่าแต้
12 เคี่ยม
13 เคี่ยมคะนอง
14 เต็ง
15 รัง
16 พะยอม
17 ตะเทียนทอง
18 ตะเทียนหิน
19 ตะเทียนชันตาแมว
20 ไม้สกุลยาง
21 สะเดา
22 สะเดาเทียน
23 ตะกู
24 ยมหิน
25 ยมหอม
26 นางพญาเสือโคร่ง
27 นนทรี
28 สัตบรรณ
29 ตีนเป็ดทะเล
30 พฤกษ์
31 ปีบ
32 ตะแบกนา
33 เสลา
34 อินทนิลน้ำ
35 ตะแบกเลืoด
36 นากบุด
37 ไม้สกุลจำปี
38 แคนา ฃ
39 กัลปพฤกษ์ ฃ
40 ราชพฤกษ์ ฃ
41 สุพรรณิการ์ ฃ
42 เหลืองปรีดียาธร
43 มะหาด
44 มะขามป้อม
45 หว้า
46 จามจุรี
47 พลับพลา
48 กันเกรา ฃ
49 กะทังใบใหญ่
50 หลุมพอ
51 กฤษณา
52 ไม้หอม
53 ฃเทพทาโร
54 ฝาง
55 ไผ่ทุกชนิด
56 ไม้สกุลมะม่วง
57 ไม้สกุลทุเรียน
58 มะขาม
ทราบกันแบบนี้แล้วใครที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันสินเชื่อ ลองหันมาปลูกต้นไม้มีค่ากันดีกว่า นอกจากจะช่วยให้คุณมีหลักค้ำประกันแล้วยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในบ้านเราอีกด้วย ถือได้ว่าได้ประโยชน์สองต่อกันเลยทีเดียว
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
- อุตุฯ เตือนซ้ำพายุฤดูร้อนมาแน่ ประชาชนเตรียมรับมือพายุฝน
- รมว.เกษตร สั่งปลูกโกโก้แทนยางพารา
- ชาวสวนยางน้ำตาตก ราคาลดฮวบ ลูกหลานก็ต้องส่ง ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้แล้ว
- เกษตรกรเฮ!เตรียมรับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวข้าวฯ ไร่ละ 1,500
- ข่าวดีพี่น้องชาวสวนยาง! กยท.จับมืออาลีบาบา “ขายยางพาราผ่านออนไลน์” ตั้งเป้าขายไม่ต่ำกว่า 2 แสนตันต่อปี
ที่มา