สัญญานไฟเตือนต่างๆ เหล่านี้ ผู้ใช้รถควรทราบ เพราะ มันบ่งบอกความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นในของรถคุณ
สัญญานไฟเตือนต่างๆ เหล่านี้ ผู้ใช้รถควรทราบ เพราะ มันบ่งบอกความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นในของรถคุณ ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น เพื่อให้แก้ไขปัญหา และ ป้องกันได้ทัน เรามาเรียนรู้การสัญญาไฟเตือนต่างๆที่ขึ้นโชว์บนหน้าปัดรถกันดีกว่า ว่าบ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง
เรียงลำดับตามความสำคัญ สีแดง –> สีเหลือง –> สีเขียว ( สำคัญสุดคือสีแดง ) ซึ่งถ้ามีสัญลักษณ์สีแดงโชว์ขึ้นมานั้น บ่งบอกถึงความผิดปกติของรถที่คุณไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด
ไฟเตือนสีแดง หมายถึง ต้องหยุดใช้รถทันที และ รีบตรวจสอบความผิดปกติตามรูปไฟเตือนที่ปรากฎในทันที
ไฟเตือนสีเหลือง หมายถึง การแจ้งเตือน..! สามารถใช้งานรถต่อไปได้ แต่ต้องระมัดระวังในการใช้งาน
ไฟเตือนสีเขียว บอกถึงผู้ขับกำลังใช้งานอุปกรณ์ของรถยนต์ที่ไม่เกิดความเสียหายอยู่
ทีนี้เรามาลงลึกในรายละเอียด ลองดูกันว่าไฟเตือนต่างๆเหล่านี้บอกความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง
สัญลักษณรูปตะเกียงน้ำมันมีน้ำหยด มักเกิดจาก น้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์มีต่ำมากจนไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ได้อย่างทั่วถึง หรือถ้าน้ำมันเครื่องแห้งมากๆ หากฝืนใช้รถต่อไปอาจทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาถึงขั้นพังได้เลย หรือ ถ้าเช็คแล้วน้ำมันเครื่องยังอยู่ในระดับปกติ แต่มีไฟโชว์ขึ้นมาก็เป็นไปได้ว่า ปั๊มน้ำมันเครื่องอาจมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถปั้มส่งน้ำมันเครื่องไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ได้อย่างทั่ววถึง
สัญลักษณมีระบุคำว่า ABS อาจหมายถึงระบบเบรค ABS มีปัญหา ให้นำรถเข้าตรวจสอบกับอู่ทันทีครับ ( ระบบเบรค กับ ระบบเบรค ABS นั้นคนละส่วนกัน ) แสดงว่าระบบเบรกยังสามารถใช้งานได้ปกติอยู่ เพียงแต่เมื่อมีการเหยียบเบรกกะทันหันจนล้อล๊อค ระบบ ABS อาจจะไม่ทำงานเท่านั้นเองครับ ( ABS คือระบบช่วยไม่ให้ล้อล๊อกเวลาเบรคกระทันหัน จนรถเสียการทรงตัวไถลไปตามพื้นถนน เป็นการช่วยลดโอกาสที่รถจะพลิกคว่ำ หรือ ไถลตกข้างทาง )
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
สัญลักษณแบตเตอรี่ ขั้วบวก ขั้วลบ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นการเตือนแบตเตอรี่เสื่อม แต่จริงๆแล้วหมายถึงไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ เช่น ไดร์ชาร์จเสีย ไดร์ชาร์จไม่ทำงาน ไม่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือ ไม่มีการจ่ายไฟเข้าใช้งานในระบบรถยนต์ เมื่อใช้ไปเรื่อยๆอาจทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดในรถยนต์ไม่ทำงาน
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
สัญลักษณ์ถุงลมนิรภัย ปกติสัญลักษณ์นี้จะขึ้นมาค้างประมาณ 5 วินาทีหลังสตาร์ทรถ เป็นการเช็คถุงลมนิรภัยของระบบตัวรถ ถ้าสัญลักษณ์นี้แสดงขึ้นมาค้างหลังจากสตาร์ทเครื่องไปแล้วไม่ยอมดับ ก็ควรเอารถเข้าอู่หรือศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบการทำงานได้เลยครับจำเป็นอย่างมาก เพราะ หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆถุงลมนิรภัยอาจจะไม่ทำงาน
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
เครื่องหมายตกใจกลางวงกลม หรือ เบรค สัญลักษณ์เบรกนี้ ส่วนใหญ่จะขึ้นใน 2 กรณีคือ เมื่อมีการดึงเบรกมือ หรือลดเบรกมือยังไม่สุด สัญลักษณ์นี้ก็จะติดขึ้นมา แต่ถ้าลดเบรกมือแล้วยังไม่ดับ คงต้องตรวจสอบระบบเบรก ซึ่งอย่างแรกที่ต้องดูคือระดับน้ำมันเบรก เพราะส่วนใหญ่แล้วสัญลักษณ์จะแจ้งเมื่อน้ำมันเบรกลดลงต่ำกว่าระดับปกติครับ แต่สำหรับบางรุ่นจะแยกกันระหว่างระบบเบรกกับเบรกมือไว้แยกจากกัน โดยระบบเบรกจะเป็นเครื่องหมายตกใจ ส่วนเบรกมือ จะเป็นตัว P ให้ลองอ่านที่คู่มือประจำรถดูก่อนครับ
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
รูปปรอทมีขีดระดับน้ำ เป็นการเตือนเรื่องความผิดปกติของระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เช่น พัดลมหม้อน้ำไม่ทำงาน น้ำยาหล่อเย็นขาด หรือ รั่ว หากฝืนใช้รถต่อ อาจทำให้เกิดการ Over Heat ( อุณหภูมิในเครื่องยนต์ร้อนสูงเกินขีดจำกัดที่เครื่องยนต์จะสามารถทำงานต่อได้ ) ซึ่งสร้างความเสียหายให้เครื่องยนต์อย่างมาก
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
รูปตู้จ่ายน้ำมัน แสดงมาเมื่อไหร่แสดงว่าน้ำมันในถังอยู่ในระดับต่ำแล้ว ให้เติมน้ำมันก่อนที่น้ำมันจะหมด โดยส่วนใหญ่ที่พบ น้ำมันจะเหลืออยู่ในถังอีกประมาณ 10-15% ของความจุถังถึงจะเริ่มแสดงขึ้นมา โดยจะวิ่งต่อได้อีกประมาณ 40-100 กิโลเมตร ขึ้นอยู่ว่าเป็นรถรุ่นไหนครับ ( เพิ่มเติมข้อมูล สัญลักษณ์รูป สามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้างถังนั้น ช่วยบ่งบอกว่าฝาถังน้ำมันอยู่ด้านไหน เวลาเข้าปั้มเติมน้ำมันจะได้จอดถูกฝั่งหัวจ่ายน้ำมัน )
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
รูปตู้จ่ายน้ำมันแต่มีจุดๆอยู่ด้านล่าง เมื่อแสดงขึ้นมา สามาถบ่งบอกว่ากรองน้ำมันมีปัญหา อาจเป็นเพราะกรองน้ำมันตัน หรือ มีน้ำผสมอยู่ในน้ำมันมาก
สัญญานไฟแจ้งเตือนหน้าปัดรถ
สัญลักษณ์เครื่องยนต์ ถ้าไฟรูปเครื่องโชว์ขึ้นมาแล้วไม่ดับเมื่อไหร่ แสดงว่าการทำงานของเครื่องยนต์เริ่มมีปัญหาแล้วครับ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่ครอบจักรวาลของเครื่องยนต์มากๆ เพราะตัวนี้ตัวเดียว อาจแจ้งความผิดปกติหลายอย่าง เช่น ค่าอ็อกซิเจนผิดปกติ, สายพานเกินระยะกำหนด, ตัว ECU มีปัญหา ฯลฯ ซึ่งถ้าไฟรูปเครื่องติด ต้องทำการตรวจสอบด้วยเครื่องของทางศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งรถส่วนใหญ่จะยังทำงานได้ปกติ แต่ในบางรุ่น (โดยเฉพาะรถทางฝั่งยุโรป) จะล็อกความเร็วไว้ให้ไม่เกิน 60 กม./ชม. เพื่อให้ผู้ใช้งานนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการทันที และป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เสียหายไปมากกว่าเดิมครับ
จากตัวอย่างสัญญานไฟเตือนที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นสัญญานไฟเตือนที่ผู้ใช้รถส่วนใหญ่มีโอกาสประสบพบเจอได้มากที่สุด ซึ่งก็มีอีกหลายสัญญานเตือนที่เราไม่ได้นำมาอธิบายรายละเอียด เพราะในรถบางรุ่นอาจมีสัญลักษณ์พิเศษต่างๆที่เราไม่ได้ระบุไว้ ซึ่งท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในคู่มือรถ แต่ให้สังเกตุไฟเตือนถ้ามีสัญลักษณ์เตือนแล้วเราไม่มั่นใจ ให้รีบนำรถไปให้ช่างเช็คเพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
- ดวลเดือดสายบุรี เจ้าหน้าที่ ยิงแหกด่าน ชาวบ้านถูกลูกหลงเจ็บสาหัส
- ฝุ่นพิษ PM2.5 รีเทิร์น ! กระทบต่อสุขภาพ 18 จุด หนักสุดริมถนนกาญจนาภิเษก
- ตร.ฉาว! ชาวบ้านร้องแม่ทัพภาค4โดนยัดยาแลก5แสน เครียดจนแท้ง
- “ทักษิณ ชินวัตร” แนะ แก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5
- อุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ เสียชีวิตแล้ว
ที่มา chit-in