หนุ่มใหญ่ ปล่อยฟันผุเรื้อรัง สุดท้ายติดเชื้อลิ้นจุกคับปาก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
วันที่ 21 พ.ย.62 นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้โพสต์รูปหนุ่มใหญ่ ปล่อยฟันผุเรื้อรัง สุดท้ายติดเชื้อลิ้นจุกคับปาก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ทันตแพทย์ญี่ปุ่นแนะ ทำแค่ 3 อย่างนี้ไม่มี “ฟันผุ” อีกเลย
อุทาหรณ์! เด็ก 4 ขวบ ถอนฟัน 18 ซี่ หมอวอนพ่อแม่ รักลูกต้องแปรงฟันให้
ตอบคำถามฮิต! กินคลีน ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำไมเป็นมะเร็ง
เช็คก่อน รู้ก่อน โรคอะไรบ้างที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง
ผวา!! เด็ก 3 ขวบ ตาหวิดบอดเพราะฟันน้ำนมผุทั้งปาก ทำติดเชื้อรุนแรงจนหนองขึ้นตาหวิดบอด
-----------------------
โดยระบุข้อความว่า "ผู้ป่วยชายอายุ40ปี ฟันกรามผุเรื้อรังมานาน ไม่สนใจไปรักษา ปวดหาย ซื้อยาร้านยามากินเอง 7วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ปวดฟันกรามมากซื้อพลาสเตอร์ปิดลดปวดที่แก้ม เริ่มปวด บวมแดงร้อน ที่คางลามไปรอบคอด้านหน้า หน้าอกตอนบนอย่างรวดเร็ว ลิ้นจุกคับปาก กลืนน้ำลาย น้ำ อาหารไม่ลง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวไปหมด 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ไข้หนาวสั่นมาก หายใจติดขัด จึงรีบมาโรงพยาบาลเข้าห้องฉุกเฉิน
แพทย์อีอาร์รีบให้สารน้ำแก้ภาวะขาดน้ำ งดน้ำ และอาหาร ช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนทางจมูกพอหายใจเองได้เล็กน้อย ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ให้ยาต้านเชื้อทางเส้นเลือด รีบส่งห้องผ่าตัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูกเป็นการด่วน
ลำดับแรกที่แพทย์ ทีมงานต้องทำคือการเจาะคอแบบฉุกเฉิน ช่วยหายใจให้ได้ก่อนเป็นการเร่งด่วนแล้วให้ยาสลบ ตามมาด้วยการผ่าฝีหนองออกเพื่อลดอาการบวม ได้หนองประมาณ150ซีซี หนองขังอยู่ในโพรงใต้คางและดันเข้าไปโพรงใต้ลิ้น ยกลิ้นขึ้นมาจนปิดช่องปาก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เข้ารักษาในห้องไอซียู 5วัน จึงเอาเครื่องออกได้แต่ยังคงต้องคาท่อที่เจาะคอช่วยหายใจเอาไว้จนกว่าจะยุบบวมหมด หลังจากนั้นค่อยส่งพบหมอฟันมาจัดการเรื่องต้นเหตุฟันผุกันต่อ วิทยาทาน โรคนี้ปัจจุบันเจอได้น้อยแต่รุนแรงมาก
@@Ludwig's angina ได้ถูกเรียกชื่อตาม Wilhelm Frederick von Ludwig ในปีค.ศ.1836 หมายถึง การอักเสบติดเชื้อของชั้นเนื้อเยื่อในโพรงใต้คาง (Submandibular space) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีการพัฒนาของยาต้านจุลชีพ โดยอัตราการเสียชีวิตลดลงจาก 50 เปอร์เซ็นต์ ในปีค.ศ.1940 ก่อนที่จะมีการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาการติดเชื้อที่เหงือกและฟัน(odontogenic infection) เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์หลังจากมีการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยภาวะนี้มักพบในผู้ใหญ่มาก@@"