13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต ร9 กับมุสลิมไทย น้ำตาหลั่งทั้งแผ่นดิน
13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต ร.9 น้ำตาหลั่งทั้งแผ่นดิน
13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต ร.9 น้ำตาหลั่งทั้งแผ่นดิน หลังจากสำนักพระราชวัง ประกาศพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต 13 ตุลาคม 2559 นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ ที่ได้สูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องมุสลิมในฐานะเป็นประชากรส่วนหนึ่งของประเทศไทย มีประกาศสำนักจุฬาราชมนตรี แสดงความอาลัยครั้งนี้ว่า
“ถือเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปวงชนชาวไทยและแผ่นดินสยาม ยังความโศกเศร้าโทมนัสอย่างยิ่งต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า”
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ เอกองค์อัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงพระคุณอันใหญ่หลวงต่อศาสนาอิสลามและพสกนิกรชาวไทยมุสลิมอย่างหาที่สุดมิได้
พระองค์ทรงปฏิบัติภารกิจด้วยการเอาพระทัยใส่ในกิจการของศาสนา ทั้งยังทรงศึกษาหลักคำสอน หลักการปฏิบัติของทุกศาสนาเท่าที่พระองค์จะค้นคว้ามาได้
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวยพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานจาก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย
พระองค์ทรงนำไปศึกษาโดยตลอดพระองค์ทรงคิดว่า หากมีการแปลความหมายของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ก็คงจะทำให้ประชากรเข้าใจความหมายที่แท้จริง และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง อันจะทำให้เกิดประโยชน์ด้านจิตใจอย่างมาก
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ในปีเดียวกัน จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ ได้นำโต๊ะครูปอเนาะพร้อมด้วยนายกสมาคมอิสลามต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงรับสั่งว่า
“คัมภีร์อัลกุรอาน ที่เป็นภาษาอังกฤษมีอยู่หลายฉบับ แต่ยังไม่มีฉบับภาษาไทยที่แปลจากต้นฉบับเดิม คือ ภาษาอาหรับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระประสงค์ที่จะให้จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์จัดทำถวาย และทรงย้ำว่าต้องการให้มีความหมายจากต้นฉบับเดิม”
จุฬาราชมนตรี ได้รับสนองพระราชประสงค์ โดยเริ่มทำการแปลตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2507 และทำการถอดความจากภาษาอาหรับเป็นภาษาไทยได้สำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2509 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ปี 7 เดือน 8 วัน
หลังจากนั้นก็ได้ใช้เวลาในการทบทวนและขัดเกลาสำนวนภาษาไทย โดยใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อให้คนทุกระดับได้เข้าใจ ซึ่งเป็นการทำงานที่ยากกว่าการนำความหมายจากภาษาอาหรับมาเป็นภาษาไทย เพราะต้องระวังให้ความหมายที่ขัดเกลาเป็นที่ถูกต้องและเข้าใจดี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ได้ทรงตรัสถามถึงการทบทวนและการขัดเกลาภาษาไทย และทรงเตือนให้รีบเร่งจัดพิมพ์ความหมายออกมาเป็นรูปเล่มสู่มือประชาชนต่อไป ทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วการพิมพ์คัมภีร์อัลกุรอานส่วนแรกก็สำเร็จลง และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต พระราชทานแก่สถาบันต่าง ๆ ในวันฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอานของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2511 ณ สนามกีฬากิติขจร หัวหมาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“คัมภีร์อัลกุรอาน มิใช่จะเป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาอิสลามเท่านั้น ยังเป็นวรรณกรรมสำคัญของโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งมหาชนรู้จักยกย่องและได้แปลออกเป็นภาษาไทยครั้งนี้ เป็นการสมควรชอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นการช่วยให้อิสลามบริษัทในประเทศไทยที่ไม่รู้ภาอาหรับ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะ ในด้านศาสนาอย่างสะดวกและแพร่หลาย ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษาในหลักคำสอนศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่าคัมภีร์อัลกุรอานมีอรรถรสลึกซึ้ง ยากที่จะแปลออกเป็นภาษาอื่นใดให้ตรงตามภาษาเดิมได้ เมื่อท่านมีศรัทธาและวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าแปลออกเป็นภาษาไทย โดยพยายามรักษาใจความแห่งพระคัมภีร์เดิมไว้ให้บริสุทธิ์ และพิมพ์ขึ้นให้แพร่หลายเช่นนี้ จึงเป็นที่ควรอนุโมทนาสรรเสริญและร่วมมือสนับสนุนอย่างยิ่ง”
- พระราชกรณียกิจ ในหลวงร.9 ด้านการส่งเสริมการบริหารกิจการศาสนาอิสลามฯ
- พระราชกรณียกิจ ในหลวงร.9 ด้านการส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม
- พระราชกรณียกิจ ในหลวงร.9 ด้านการส่งเสริมการบริหารกิจการศาสนาอิสลามฯ
- พระราชกรณียกิจ ในหลวงร.9 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยมุสลิม
- ในหลวง ร.9 กับเรื่องราวการแปลอัลกุรอานเป็นไทย
- 'ในหลวง ร.10' สานต่อพระราชดำริ 'เสด็จพ่อ' แปลคัมภีร์อัลกุรอาน ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ชาวมุสลิมไม่เคยลืมเลือน
- กีตอกาเซะรายอกีตอ เรารักในหลวงของเรา รอยพระบาทยาตราชายแดนใต้
- ในหลวง ร.9 ผู้ทรงเข้าพระทัยศาสนาอิสลามและมุสลิมดีที่สุด
- สุดซาบซึ้ง! ในหลวง ร.9 กับการคลุมฮิญาบรับปริญญา
- น้ำตาซึม! วันมูหะมัดนอร์ มะทา เผยความประทับใจ ในหลวง รัชกาลที่9
- ทับทิม อัญรินทร์ ควงคุณแม่ทำบุญมัสยิด แสดงความอาลัย ในหลวง ร. 9
- 5 มัสยิดพระราชทานจาก ในหลวง รัชกาลที่ 9
- 'ขโมยก็มารับเสด็จเหมือนกัน' ครั้น ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนภาคใต้
- “ผู้ว่าน่ะดื้อ” จากอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย