สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปฏิสันถารด้วยทรงห่วงใยต่อ พลอ เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยทรงรับสั่งว่า “ป๋า รักษาตัวด้วยนะ”
“ป๋า รักษาตัวด้วยนะ”ครั้งในหลวง ร.10 ทรงห่วงใย พล.อ เปรม แต่ในวันนี้ไม่มีท่านแล้ว
นับว่าเป็นเหตุการณ์สุดประทับใจ และยังคงตราตรึงในใจคนไทยทุกคน เมื่อครั้ง "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังสุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ "พล.อ เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีนำนาย จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฎิญญาณ ณ.พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานพระราชวโรกาสให้ "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรี นำคณะองคมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมแต่งตั้งจำนวน 10 คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่
ซึ่งหลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปฏิสันถารด้วยทรงห่วงใยต่อ พล.อ เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยทรงรับสั่งว่า “ป๋า รักษาตัวด้วยนะ”
และพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะองคมนตรี และ เลขาธิการพระราชวังที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมแต่งตั้งใหม่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงห่วงใย “พล.อ เปรม” ปธ.องคมนตรี อย่างถึงที่สุด
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ “เปรม” นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล “ติณสูลานนท์” พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน ๘ คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ ๑๖ ดำรงตำแหน่ง ๓ สมัย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๑
บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใ บ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นัก ฆ่ า แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์ ก บ ฏ เมษาฮาวายและ ก บ ฏ ๙ กันยา หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ จากนั้นในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
- ประวัติ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ คนไทย 5 แผ่นดิน และสาเหตุที่ทุกคนเรียกว่า ป๋า
- พลเอกเปรม ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ในวัย 98 ปี
- ที่มา รัฐบุรุษ ย้อนพระบรมราชโองการ ในหลวง ร.9 โปรดเกล้าฯ ยกย่อง พลเอก เปรม
ที่มา: www.liekr.com