ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีฮาลาล ภายใต้หัวข้อ "นวัตวิถีฮาลาล นำไทยสู่เวทีโลก"
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีฮาลาล ภายใต้หัวข้อ "นวัตวิถีฮาลาล นำไทยสู่เวทีโลก"
เพื่อสร้างเวทีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สอดรับประเพณี วัฒนธรรมพื้นถิ่น
วันนี้ (17 มิ.ย. 62) ที่หอประชุมใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นายนิมะ มะกาเจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีฮาลาล ภายใต้หัวข้อ "นวัตวิถีฮาลาล นำไทยสู่เวทีโลก"
ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคอื่น ๆ ของประเทศ ใช้โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลลาล เป็นแนวทางในการพัฒนา
ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2580 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีครู และนักเรียน เข้าร่วม 120 คน แบ่งเป็น 3 สาขาได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสิ่งประดิษฐ์ และสาขามัลติมีเดีย
ผศ.ฟาริด ระเด่นอะหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาล หรือ Halal Scientist Competition ในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "นวัตวิถีฮาลาล นำไทยสู่เวทีโลก" เพื่อเป็นการสร้างนักวิทยาศาสตร์นวัตกรรม ที่สอดรับกับประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลายของประเทศและประชากรในอาเซียน
โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แสดงความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาล ตลอดจนนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกการแข่งขันประกวดโครงงานระดับภาคใต้ เข้าสู่การแข่งขันในเวทีระดับประเทศ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อไป
โดยรูปแบบของการจัดงานประกอบด้วย การบรรยาย การสร้างแรงบันดาลใจ และการคัดเลือกโครงงาน ที่ส่งเข้าร่วมประกวดโครงงานระดับภาคใต้ ซึ่งมีโครงงานส่งเข้าร่วมประกวดกว่า 120 โครงงาน และได้รับคัดเลือกเพื่อแข่งขันในระดับภาคใต้ จำนวน 30 โครงงาน