"สมิทธ เตือนรัฐบาล เร่งรับมือ พายุ ปาบึก ให้ห่วงชีวิตประชาชนก่อน จ่อถล่ม16 จวภาคใต้
"สมิทธ เตือนรัฐบาล เร่งรับมือ พายุ ปาบึก ให้ห่วงชีวิตประชาชนก่อน จ่อถล่ม16 จว.ภาคใต้ เข้าฝั่งในสองวันนี้ น้ำท่วมหนัก สุราษฐ์ ชุมพร สงขลา ชี้ความรุนแรงอาจมากกว่า
2 มกราคม 2562 นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยกรณีแผ่นดินไหว 4.9 ริกเตอร์ที่จ.กาญจนบุรี ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าเป็นการทดสอบเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์
ว่าเป็นการทดสอบเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ว่าสร้างไว้มั่นคงแข็งแรงแค่ไหน และเมื่อรับแรงแผ่นดินไหว 4.9 ริกเตอร์ เป็นอย่างไร เพราะเคยเกิดแผ่นดินไหวแรงใต้เขื่อนสองแห่งมาแล้วในตอนนั้นยังไม่มีเขื่อน ถ้าไหวมากเขื่อนอาจแตกได้ ซี่งทราบว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.)ได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวไปวางที่ชั้นเขื่อน โดยก่อนหน้านี้ตนได้ไปบรรยายให้ชาวเมืองกาญจน์ฯได้ตัวเตรียมพร้อมถ้าเขื่อนแตกจะไปหลบที่ไหน เช่นยอดเขาสูง ไปบอกเส้นทางหนีไว้หมดแล้ว อย่างไรก็ตามการเกิดแผ่นดินไหวในแผ่นดิน จะรุนแรงน้อยกว่าเกิดในทะเล ที่จะมีคลื่นสึนามิ มาสร้างความเสียหายมากขึ้น
"จะเห็นว่าเกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากขึ้น เป็นการส่งสัญญาณว่าเปลือกโลกกำลังเคลื่อนตัว เช่นแผ่นดินไหวการาตัว เป็นสึนามิ 2561 ซึ่งฝั่งอันดามันของไทย เปลือกโลกขบกันอยู่ โอกาสเกิดสึนามิในอนาคต มีอยู่มากต้องดูว่าสะสมพลังงานไว้แค่ไหน ถ้าเกิดมาใกล้ชายฝั่ง ไม่ใช่เฉพาะไทย ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย รับผลกระทบถ้วนหน้า"นายสมิทธ กล่าว
นายสมิทธ กล่าวว่ากรณีพายุ ปาบึก ขอให้รัฐบาล ส่งข้อมูลเตือนประชาชนล่วงหน้า เพราะจะโดนหนัก ไม่เกินสองวันนี้ น้ำจะท่วมมาก จ.ชุมพร สุราษฐ์ธานี สงขลา เพราะขณะนี้มีคลื่นสูงกว่า4-5 เมตรแล้วเข้ามาชายฝั่ง
"พายุปาบึก ลูกมันใหญ่มาก ทุกหน่วยงานต้องติดตามอย่างใกล้ชิดขอให้ห่วงชีวิตราษฎรก่อน ถ้าพายุเข้าฝั่งก็รุนแรงมาก เหมือนพายุเกย์หรืออาจจะมากกว่า ถ้าพายุเลาะชายฝั่งมาเรื่อย ๆ ดังนั้นต้องระวังหมดทั้ง 16 จว.ภาคใต้ กระทบไปถึงประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์ ด้วย ในส่วนไทยถ้าข้ามฝั่งไปตะวันตก จะเสียหายเยอะ แบบพายุเกย์ข้ามไปถึงจ.ชุมพร "นายสมิทธ กล่าว
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"พายุ “ปาบึก” (PABUK)"
ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 02 มกราคม 2562
เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (2 ม.ค. 62) พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลัง
เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 2-3 มกราคม 2562
และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ในช่วงค่ำของวันที่ 4 มกราคม 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำทวมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยมีผลกระทบดังนี้
ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง
2-3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากลมแรง และคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง
ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตั้งแต่วันที่ 2-5 มกราคม 2562
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 17.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 23.00 น.
(ลงชื่อ) ภูเวียง ประคำมินทร์
(นายภูเวียง ประคำมินทร์)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
ที่มา posttoday