ประชาชนส่วนใหญ่จึงเกิดการวิตกกังวล รวมถึงมีข่าวลือถึงการยกระดับมาตรการป้องกันโรคระบาดจนถึงขั้นประกาศใช้ "พรกฉุกเฉิน" หรือที่เราเรียกกันว่า "เคอร์ฟิว"
เคอร์ฟิว คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหนในสถานการณ์ 'COVID-19'
จากภาวะการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อ 827 ราย และตาย 4 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2563) ประชาชนส่วนใหญ่จึงเกิดการวิตกกังวล รวมถึงมีข่าวลือถึงการยกระดับมาตรการป้องกันโรคระบาดจนถึงขั้นประกาศใช้ "พรก.ฉุกเฉิน" หรือที่เราเรียกกันว่า "เคอร์ฟิว"
- เคอร์ฟิว คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหน
การประกาศ "พรก.ฉุกเฉิน" หรือ "เคอร์ฟิว" คือ การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน และ จะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ภายใต้บังคับของกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงอื่นๆ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นอยู่ในภาวะสงครามหรือมีเหตุกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ดีเนื่องจากการประกาศ "เคอร์ฟิว" มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพลเมืองอย่างรุนแรง จึงเป็นมาตรการที่หยิบออกมาใช้ในฐานะตัวเลือกสุดท้าย (The last resort) ทั้งนี้ การคงอยู่ของเคอร์ฟิวก็ควรจะสั้นที่สุดเพื่อให้กระทบต่อเสรีภาพของพลเมืองให้น้อยที่สุด
ประเทศไทยมีกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงให้อำนาจแก่รัฐในการประกาศเคอร์ฟิวอยู่หลายฉบับ เช่น
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา11(6)
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น ตามมาตรา 9(1)
- การเคอร์ฟิวในอดีตที่ผ่านมา
ข้อสังเกตจากการประกาศเคอร์ฟิวของไทยในอดีตที่ผ่านมา อาจแบ่งประเภทตามเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การประกาศออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การประกาศเคอร์ฟิวอันเป็นผลสืบเนื่องการทำรัฐประหาร การประกาศเคอร์ฟิวอันเนื่องมาจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง และการประกาศเคอร์ฟิวอันเนื่องมาจากปัญหาด้านความมั่นคง
ทั้งนี้ ILaw.com ให้ข้อมูลว่าการประกาศเคอร์ฟิวในประเภทที่ 3 ซึ่งเป็นการประกาศเคอร์ฟิวเนื่องมาจากปัญหาด้านความมั่นคงนั้น ไม่ต้องเผชิญแรงต้านเท่าการประกาศใช้เคอร์ฟิวในสองประเภทแรก
- การเคอร์ฟิวในอดีตที่ผ่านมา
การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 โดยนายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี
การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาประมาณสามเดือน
การประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยแม่ทัพภาคที่สี่ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. ในเขตท้องที่ อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หลังจากมีเหตุลอบวางระเบิดและลอบยิงประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: www.bangkokbiznews.com
- เปิดลิสต์! 13 ประเทศไร้ผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19'
- เผยคลิปใน รพ.อิตาลี วิกฤตโควิด-19 สุดระส่ำ!! หมอเตือนชาติอื่นปิดประเทศก่อนเจอแบบนี้
- โควิด-19 ดับ 2 รายแรกในมาเลเซีย ติดเชื้อสะสม 700 ราย
- ชาวสิงคโปร์แห่กักตุนสินค้า หลังมาเลเซียประกาศปิดประเทศ
- “โควิด-19”ติดแล้วต้องตายทุกคนมั้ย? เพจดังไขข้อสงสัยละเอียด
- จีนกร้าว! พ้นจุดวิกฤตพิษ “โควิด-19” มิ.ย.นี้จบเกม
- ไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 11 คน พบกินดื่ม สูบบุหรี่ ร่วมกัน