จากตัวเลขทั้งหมด บ่งชี้ว่าเบาหวานแม้จะเป็นโรคไม่ติดต่อ แต่ก็ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด
425 ล้านคน คือจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก
ทุก ๆ 8 วินาที คือสถิติของคนที่เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งโลก
4.8 ล้านคน คือผู้ป่วยเบาหวานเฉพาะในประเทศไทย
2.6 ล้านคนเท่านั้นที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
และ 200 คนต่อวัน คือผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในบ้านเรา
จากตัวเลขทั้งหมด บ่งชี้ว่าเบาหวานแม้จะเป็นโรคไม่ติดต่อ แต่ก็ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงมีคนรอบตัวเป็นผู้ป่วยโรคนี้อยู่บ้างแน่ ๆ ซึ่งนับวันสถิติผู้ป่วยใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เนื่องในโอกาส 'วันเบาหวานโลก'n14 พฤศจิกายนของทุกปี LINE TODAY จึงรวบรวมบรรดา ‘ความเข้าใจผิด’ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มาให้อ่านกัน จะได้ทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องมากขึ้นว่าที่ผ่านมา สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมา มีอะไรถูก มีอะไรผิดเพี้ยนไปบ้าง
แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า 'เบาหวาน' เจ้าโรคร้ายที่ว่านี้คืออะไร
โรคเบาหวานคือ ภาวะร่างกายที่มีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยมีค่าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป (หากใครมีระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานแล้ว) ซึ่งสามารถตรวจระดับน้ำตาลได้จากเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
เบาหวานมีกี่ชนิด?
ที่พบหลัก ๆ มี 2 ชนิด ได้แก่
เบาหวานชนิดที่ 1 คือ การที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อย หรือผลิตไม่ได้เลย เรียกว่าเป็นความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน มักเกิดขึ้นในคนอายุน้อย และเป็นคนผอม สามารถรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสะสมน้ำตาลในเลือดไว้มากนั่นเอง เป็นประเภทที่พบคนป่วยมากที่สุด มากถึง 90-95% มักเกิดกับคนอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบในคนน้ำหนักตัวเยอะ หรือคนอ้วน รักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังมีเพิ่มเติมอีก 2 ชนิด แต่ไม่พบบ่อยมากนัก คือ
เบาหวานจากสาเหตุจำเพาะ เป็นผลมาจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของตับอ่อนหลังการผ่าตัด หรือจากการใช้ยา เช่น ยาสเตียร์รอยด์ ฯลฯ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เวลาที่คุณแม่กำลังตั้งท้อง ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนจำนวนมากขึ้นมา ซึ่งบางอย่างอาจดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดสูงจนกลายเป็นโรคเบาหวานได้
มาถึงเหล่า 'ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคนี้' กันบ้างว่า ที่เราได้ยินกันมาตลอด มันเป็นหรือจริงหรือเท็จ
คนอ้วนเท่านั้นที่จะเป็นเบาหวาน
ไม่จริง คนอ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานก็จริง แต่คนผอมอย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะหากมีพฤติกรรมเสี่ยงก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ความอ้วนเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดโรคได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น กรรมพันธุ์, อายุ, พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอื่น ๆ
มดตอมฉี่=เป็นเบาหวาน
จริงส่วนหนึ่ง (แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยที่ลึกกว่านี้) เพราะปัสสาวะของคนเรามีน้ำตาลเจือปนออกมาเพราะว่าน้ำตาลในเลือดเราสูง หากเข้มข้นมากพอ ก็หวานจนมดมาดมดอมได้
รับประทานหวานมากจะทำให้เป็นเบาหวานแน่ ๆ
ไม่เสมอไป เพราะหากรับประทานอาหารหวาน แต่ดูแลตัวเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โอกาสป่วยก็อาจจะลดลงไปด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีปัจจัยอื่นเป็นส่วนประกอบสำคัญด้วย เช่น กรรมพันธุ์ หรือการทำของตับอ่อนที่ผิดปกติอยู่แล้ว (ทำให้ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ)
คนในครอบครัวเป็นเบาหวาน เราต้องเป็นด้วย 100%
ไม่จริง อย่างที่บอกว่าเบาหวานมีหลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย ฉะนั้นกรรมพันธุ์อย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้ป่วยเบาหวานได้เสมอไป
เด็กไม่มีทางเป็นเบาหวาน
ไม่จริง เบาหวานมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกช่วงวัย สำหรับเด็ก หรือคนอายุน้อย มักตรวจพบเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 คือ การที่ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเด็กก็ยังมีความเสี่ยงในการป่วยเบาหวานได้เช่นกัน
กินผลไม้ได้ทุกอย่าง เพราะน้ำตาลจากผลไม้ปลอดภัย
ต้องระวัง! เพราะผลไม้บางชนิดมีน้ำตาลสูง หากรับประทานเข้าไปเยอะก็มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน ชนิดของผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ขนุน ทุเรียน เงาะ ลำไย องุ่น ฯลฯ สรุปคือกินได้ แต่ต้องควบคุมปริมาณ
เป็นเบาหวานห้ามกินอาหารหวาน ๆ เลย
ไม่จริง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ตามปกติ แต่ต้องรู้จักควบคุมปริมาณ กินได้เพียงแต่น้อย ไม่งั้นสุขภาพจะยิ่งแย่ แต่รู้แบบนี้แล้วเลือกกินอาหารสุขภาพก็จะดีกว่า
เบาหวานรักษาหายขาดได้
ต้องตอบว่าไม่เชิงหายขาด แต่มีโอกาสที่โรคจะสงบลง (Diabetes remission) ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย โรคมีแนวโน้มจะสงบลงเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเข้าสู่ภาวะปกติโดยไม่ต้องใช้ยา แต่ก็สามารถกลับมากำเริบได้ใหม่เช่นกัน ส่วนผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ยากที่จะหายขาด เพราะสาเหตุของการเกิดโรคนั้นเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายโดยตรง แต่ในอนาคตอาจมีโอกาสรักษาให้หายได้มากขึ้น จากวิวัฒนาการเทคโนโลยีและตัวยาใหม่ ๆ ที่ถูกคิด