รัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกสถานะพิเศษของแคชเมียร์พื้นที่พิพาท
วันที่ 5 ส.ค.2562 รัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกสถานะพิเศษของแคชเมียร์พื้นที่พิพาทระหว่างอินเดียและ ปากีสถานเพื่อบูรณาการรวมแคชเมียร์ผนึกกับส่วนอื่นๆ ของประเทศอย่างเต็มกำลัง
โดยอินเดียประกาศยุติ บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ที่เรียกกันว่ามาตรา 370 ซึ่งอนุญาตให้ “รัฐจัมมูและแคชเมียร์” สามารถตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ในรัฐของตัวเองได้ ยกเว้นกิจการด้านกลาโหม, การต่างประเทศ และการคมนาคม
รายงานระบุว่า ในขณะที่มีการแถลงการยกเลิกสถานะพิเศษ และการยกเลิกข้อห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่ชาวรัฐจัมมูและแคชเมียร์ ซื้อหาอสังหาริมทรัพย์ในรัฐซุ้งถือเป็นการเปิดทางให้ชาวอินเดียทั่วไปเข้ามาลงทุนไปจนถึงตั้งถิ่นฐานในพื้นที่พิพาทนี้ได้ต่อรัฐสภา
ทำให้เหล่าสมาชิกสภาฝ่ายค้านแสดงการคัดค้านมาตรการนี้ด้วยการส่งเสียงโห่ร้องกันลั่นสภา รวมถึงประชาชนในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ได้ออกมาประท้วงต่อต้านมาตรการนี้อย่างหนัก
การประกาศของรัฐบาลอินเดียขึ้นหลังจากแคชเมียร์ ประสบภาวะความไม่สงบนับตั้งแต่วันศุกร์ ที่อินเดียสั่งให้พวกนักท่องเที่ยวและผู้จาริกแสวงบุญชาวฮินดู เดินทางออกจากแคชเมียร์ทันที
พร้อมทั้งส่งทหารจำนวนหลายหมื่นลงไปประจำการจากนั้นในช่วง ในช่วงเที่ยงคืนวันอาทิตย์ มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต รวมถึงเครือข่ายเคเบิลในแคชเมียร์
และจะมีเฉพาะชาวแคชเมียร์ที่มีใบผ่านพิเศษช่วงเคอร์ฟิวส์เท่านั้น จึงจะสามารถออกมายังท้องถนนได้ พร้อมๆ กับที่มีรายงานว่า ทางการอินเดียได้กวาดจับพวกผู้นำของแคว้นไปหลายคน
ก่อนหน้านี้นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีและพรรคต้นสังกัด ซึ่งแนวทางชาตินิยมฮินดู ได้ผลักดันให้ดำเนินการปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรงในแคชเมียร์ โดยก่อนที่เขาจะชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
เขาเคยบอกว่าการให้สิทธิแคชเมียร์ออกกฎหมายได้เอง ได้กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการบูรณาการดินแดนนี้เข้ากับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย
อย่างไรก็ตาม อินเดียได้อ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ให้แบ่งรัฐนี้ออกเป็น 2 ดินแดน โดยต่างเป็นดินแดนที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ดินแดนหนึ่งคือดินแดนของจัมมูและแคชเมียร์โดยตรง ทำให้ปากีสถาน ซึ่งก็อ้างกรรมสิทธิเหนือแคชเมียร์เช่นเดียวกัน