ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีที่สำคัญ หลายคนคงได้เห็น "สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี"
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีที่สำคัญ หลายคนคงได้เห็น "สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" เสด็จร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในฉลองพระองค์ชุดไทยผ้าไหมที่สวยสดงดงาม ทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าฉลองพระองค์ชุดไหมเหล่านี้มาจากที่ไหน
โดยทางเว็บไซต์ True ID ได้เปิดเผยว่าฉลองพระองค์ชุดชุดไทยผ้าไหมนี้ เป็นผ้าไหมยกดอกลำพูน ซึ่งเป็นมรดกทางหัตถกรรมของชาวลำพูนที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยผ้ายกดอกมีลักษณะเด่น คือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัส ผ้ายกดอก จะมีความนูนของผืนผ้า แต่ละชิ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลวดลาย แต่ละลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้าย หรือไหมสีเดียวกัน ตลอดทั้งผืน บางครั้ง อาจมีการจกฝ้าย เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเด่นของลวดลายก็ได้
ซึ่งต้นกำเนิดของผ้ายกดอกนั้นก็มาจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่ได้พระราชทานทูลขอพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชการที่ ๖ เสด็จกลับเชียงใหม่ ทรงได้นำความรู้ที่เรียนรู้มาจากราชสำนักส่วนกลางขณะประทับ ณ วังหลวงในกรุงเทพฯ มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ลวดลาย และได้ฝึกหัดคนในคุ้มเชียงใหม่ให้ทอผ้ายกโดยเพิ่มลวดลายลงในผืนผ้าไหมให้พิเศษขึ้น คือเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง การเก็บลายจึงต้องใช้ตะกอเพื่อให้สามารถทอลวดลายที่สลับซับซ้อนประณีต งดงามได้ โดยเรียกเทคนิคการทอนี้ว่า ยกดอก เพื่อนำไปถวายเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในภาคกลางและทรงใช้ส่วนพระองค์
เนื่องด้วยทรงเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนจึงทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้ายก ที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจงให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญพระราชชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย) และเจ้าหญิงลำเจียก(พระธิดาเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์) ทั้งสองพระองค์จึงได้นำความรู้การทอผ้ายกมาฝึกคนในคุ้มหลวงลำพูน และชาวบ้านได้เรียนรู้การทอผ้ายกจากคนในคุ้มจนมีความชำนาญและมีการเผยแพร่ทั่วไปในชุมชนต่างๆ โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจนมีความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกเป็นอย่างดี ทรงฟื้นฟูผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยทรงดัดแปลงให้ผ้าไหมมีความวิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น โดยทรงใช้เทคนิคภาคกลางมาประยุกต์และทอกันมากในตำบลเวียงยอง และบริเวณใกล้เคียงที่เป็นชุมชนของเจ้านายยองในอดีต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์จากรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่และลำพูน ภาคเหนือจึงกลายเป็นแหล่งผ้าไหมที่ลือชื่อ และตั้งแต่ พ.ศ.2475 ผ้ายกที่ทอด้วยฝีมือประณีตจากลำพูนเป็นที่ต้องการทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในราชสำนัก
ในปัจจุบันการทอผ้าไหมยกดอกลำพูนเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและมีการขยายแหล่งทอผ้าไปยัง อ.ลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง จึงทำให้จังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญของประเทศไทย
การประดิษฐ์ลวดลายนั้น ผ้ายกลำพูนนับว่าเป็นศิลปะการทอผ้าที่มีลวดลายงดงามมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีรูปแบบลวดลายที่อ่อนช้อยงดงามของธรรมชาติ เป็นเรื่องราวของดอกไม้ ใบไม้ เช่น ลายดอกพิกุล ลายกลีบลำดวน ลายใบเทศ ลายเม็ดมะยม และลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำลวดลายธรรมชาติเหล่านี้ประยุกต์เข้ากับลายไทยต่างๆ ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ
สำหรับลวดลายที่เป็นลายโบราณดั้งเดิมและยังได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ลายดอกพิกุลหรือดอกแก้ว ซึ่งเริ่มแรกในสมัยโบราณไม่มีการบันทึกลวดลายเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดจำลวดลายไว้ในหัวสมอง ถ้าความจำลบเลือนหรือเสียชีวิตไป ลวดลายที่จดจำไว้นั้นก็สูญหายไปด้วย ทำให้ลายผ้าโบราณหายไปมากเพราะไม่ได้ลอกลายไว้ ต่อมา เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน (สมรสกับโอรสเจ้าผู้ครองนครลำพูน) ได้รับการถ่ายทอดวิชาทอผ้าด้วยกี่พื้นบ้าน และมีความสามารถในการเรียนรู้ลายผ้ายกโบราณที่สวยงามของคุ้มลำพูน จึงได้เริ่มเก็บลวดลายไว้โดยบันทึกไว้ในกระดาษกราฟ เพื่อเป็นต้นแบบและป้องกันการสูญหาย
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
- ‘เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ’ ทรงโพสต์ข้อความ “แม้จะมียศสูงขึ้น แต่เราจะเป็นท่านหญิงองค์เดิม”
- ความในพระราชหฤทัย ในหลวง ร.10 ถึง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เมื่อครั้งพระเยาว์
- ค ว า ม น่ารักของเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ที่เห็นแล้วต้อง ยิ้ ม ต า ม
- ยายทวด 5 แผ่นดินชื่นชมพระบารมี ในหลวง ร.10 ผ่านทีวี
- ปีติ 10 พระปรีชาสามารถด้านการทหาร “สมเด็จพระราชินีสุทิดา”
ที่มา liekr