โรคชิคุนกุนยาระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำป้องกันโรคไข้ชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยาระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำป้องกันโรคไข้ชิคุนกุนยา หากใครมีไข้สูง ปวดตามข้อ กินยาแล้วไข้ยังไม่ลด และมีผื่นขึ้นตามตัว ให้รีบพบแพทย์ด่วน
โรคชิคุนกุนยาคืออะไร
โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่มียุงยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค และสามารถติดต่อกันได้ วิธีการติดต่อ จะเริ่มจากที่งลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นติดโรคได้ จึงเกิดเป็นโรคติดต่อค่ะ
ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา
-มีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4
-มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
-มีตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว
-มีอาการปวดข้อ ข้อบวมแดง อักเสบและเจ็บ อาจพบอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย (จะยิ่งเห็นชัดในผู้ใหญ่)
วิธีการรักษาโรคชิคุนกุนยา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะโรคนี้โดยตรง เนื่องจากโรคนี้มักหายเอง ทางที่ดีที่สุด คือ ต้องรักษาตามอาการค่ะ ซึ่งอาจบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคนี้ได้ด้วยการดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงรับประทานยาเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น ห้ามทานยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ได้เป็นไข้เลือดออก เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติ และโรคนี้ในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่
การวิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา
-ระวังไม่ให้ยุงกัด โดยใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
-ใช้ยาไล่เเมลงหรือยาจุดกันยุงที่อาจช่วยป้องกันยุงภายในอาคารได้
-อยู่ในห้องที่มีประตูและหน้าต่างมุ้งลวด หรือห้องปิดสนิทที่มีเครื่องปรับอากาศ
-เด็กเล็ก ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่นอนกลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น แหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ ภาชนะที่มีน้ำขัง เป็นต้น
-ในสถานที่ที่มีการแพร่กระจายของโรค อาจพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่ายุงและลูกน้ำยุงลายตามแหล่งน้ำที่พบยุงชุกชุม
ความแตกต่างระหว่างไข้เลือดออก กับโรคชิคุนกุนยา
-ชิคุนกุนยา จะเกิดไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าในไข้เลือดออก
-ชิคุนกุนยามีระยะของไข้สั้นกว่าในไข้เลือดออก
-ชิคุนกุนยาจะพบจุดเลือดที่ผิวหนัง ทั้งที่เกิดเอง และจากการทดสอบได้น้อยกว่าไข้เลือดออก
-ไม่พบผื่นหายในไข้ชิคุนกุนยาเหมือนในไข้เลือดออกที่มีลักษณะวงขาว ๆ
-พบผื่นแดงแบบปื้นแดง ๆ และตาแดงในชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าไข้เลือดออก
-พบอาการปวดตามเนื้อตัว ปวดตามข้อ ในชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในไข้เลือดออก
-ในชิคุนกุนยาเนื่องจากไข้สูงฉับพลัน จึงพบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในไข้เลือดออกถึง 3 เท่า
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้
เด็ก 2 ขวบ แบกท้องโต 9 กิโล พอแพทย์ตรวจข้างในท้อง ถึงกับอึ้ง??
แม่ป่วยซึมเศร้า เข้าแจ้งความ พ่อข่มขืนลูกสาวแท้ ๆ วัย 3 ขวบ
พ่อ-แม่หัวใจสลาย !! เด็ก 'ยีนกลายพันธุ์' เสียชีวิตแล้ว อยู่ได้เพียง1ปี 6 เดือน
มีเฮ! ฮาลาลไวอากร้า เสริมแรงม้า เพศชาย
จักษุแพทย์เตือน!! ฝุ่นพิษส่งผลเสียต่อดวงตาด้วย ใช้คอนแทคเลนส์ยิ่งต้องระวัง
ที่มา Amarinbaby kids